พันธกิจ
ให้บริการคลินิกโรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ บริการตรวจวินิจฉัยรักษาโรคตับ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้ใหญ่ รวมทั้งการตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง พร้อมให้คำปรึกษา แนะนำการดูแลสุขภาพของ โรคตับ และ โรคระบบทางเดินอาหารโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
การให้บริการ/โรคระบบทางเดินอาหาร- การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เป็นการตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น โดยใส่กล้องส่องตรวจผ่านทางปากลงไปในกระเพาะอาหาร ก่อนใส่กล้องส่องตรวจ แพทย์จะพ่นยาชาที่บริเวณลำคอ ทำให้รู้สึกชาและเจ็บน้อยลง การตรวจทำให้แพทย์มองเห็นพยาธิ สภาพของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นได้ชัดเจนและถ้าพบความผิดปกติแพทย์สามารถนำชิ้นเนื้อมา ตรวจได้ เพื่อให้การรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
- การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ เป็นการตรวจวินิจฉัยโรคของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โดยการส่องกล้องใส่ทางทวารหนักเข้าไปในลำไส้ใหญ่ ทำให้การตรวจ พบผู้ป่วยมะเร็งลำไส้และทวารหนักในระยะแรกได้ นอกจากนี้ยังสามารถให้การรักษาในบางโรคได้ด้วย เนื่องจากในลำไส้ ใหญ่ มีอุจจาระเป็นอุปสรรคในการตรวจ จึงจำเป็นต้องเตรียมลำไส้ก่อนตรวจ เพื่อให้การส่องกล้องตรวจทำด้วยความสะดวก สามารถให้การวินิจฉัยได้ถูกต้องแม่นยำ เพราะมองเห็นความผิดปกติบนเยื่อบุลำไส้ เช่น เนื้องอก แผล อย่างชัดเจนและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ใช้เวลาน้อยลง เพื่อให้การตรวจสำเร็จและมีประโยชน์โดยตรงต่อผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องขอความร่วม มือจากผู้ป่วยในการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ในการขจัดอุจจาระที่มีในลำไส้ออกให้หมด เพื่อไม่ให้รบกวนการตรวจ
- การตรวจหาเชื้อ H. Pylori ด้วยวิธีการเป่าลมหายใจ (Urea Breath Test) หลักการสำคัญของการตรวจหาเชื้อ H. Pylori ในกระเพาะอาหาร ด้วยวิธีการทดสอบลมหายใจ การตรวจวิธืนี้ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับผู้ป่วย ใช้ง่าย สะดวก ปลอดภัยวิเคราะห์ผลง่าย รวดเร็ว ลดการติดเชื้อเนื่องจากถุงเก็บเป็นชนิด Disposable แบบใช้ครั้งเดียว
หมายเหตุ : ราคาดังกล่าวนี้ไม่รวมรายการต่าง ๆ ดังนี้
- ค่าทำหัตถการพิเศษต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องมือ/อุปกรณ์ในการห้ามเลือดในทางเดินอาหาร การทำหัตถการโดยการตัดชิ้นเนื้อด้วยไฟฟ้า เป็นต้น
- ค่าส่งชิ้นเนื้อตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง
- ราคานี้ไม่รวมค่ายา และเวชภัณฑ์ที่จ่ายให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
- คลินิกพิเศษนอกเวลาราชการ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากราคาปกติ 15%
- ค่าแพทย์เฉพาะทาง พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ที่ให้บริการนอกเวลาราชการ
- ผู้รับบริการที่มาส่องกล้องเพื่อตรวจวินิจฉัยระบบทางเดินอาหาร ต้องได้รับการตรวจ Covid-19 ก่อนทุกราย
- ราคานี้อาจเปลี่ยนแปลงได้
ตารางแพทย์ออกตรวจคลินิกระบบทางเดินอาหารและตับ
ติดต่อเรา : Contact us
หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารชั้น 5 อาคารราชนครินทร์ โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 420/6 ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวีกรุงเทพมหานคร 10400
หน่วยส่องกล้องทางเดินอาหารชั้น 5 อาคารราชนครินทร์ เบอร์ติดต่อ : 02-3069194 คลินิกพิเศษนอกเวลา ชั้น 2 อาคารราชนครินทร์ เบอร์ติดต่อ : 02-3069149Follow us on :
คำถามที่ถามบ่อย : FAQ
การรับนักศึกษาฝึกงาน
- หลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ โภชนาการและการกำหนดอาหาร ระดับปริญญาตรี
- ต้องได้รับวัคซีน COVID-19 ครบตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข มากกว่า 2 สัปดาห์ หรือมีประวัติการเป็นโรค COVID-19 ไม่เกิน 1 เดือนที่ได้รับการรักษาแล้วจนหาย โดยมีหลักฐานใบรับรองแพทย์ประกอบ เว้นแต่มีข้อห้ามทางการแพทย์ในการรับวัคซีน
- ได้รับวัคซีนหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR) ครบ 2 เข็ม
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส (Varicella) ครบ 2 เข็ม หรือมีผลการตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันโรคอีสุกอีใส (Vericalla Ab) หรือมีประวัติการเป็นอีสุกอีใสในอติคพร้อมใบรับรองแพทย์และสำเนาหลักฐานการตรวจวินิจฉัย
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) ครบ 3 เข็ม หรือมีผลการตรวจพบว่ามีภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบบี (anti-HBs > 10 IU/mL)
- ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก หรือวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน โดยได้รับวัคซีน (tetanus-diphtheria (Td) หรือ tetanus-diphtheria-acellulapertussis vaccine (Tdap) จำนวน 1 เข็ม ภายใน 10 ปี)
- ต้องมีผลการตรวจภาพรังสีทรวงอกปกติภายใน 6 เดือน ก่อนปฏิบัติงาน อบรม เรียนรู้ หรือดูงาน หากพบความผิดปกติที่สงสัยเป็นวัณโรค ต้องได้รับการรักษาจนพ้นระยะติดต่อหรือหายดีก่อนเข้าฝึกอบรม เรียนรู้ หรือดูงาน
- ทำการตรวจ Antigen-Test Kit (ATK) FOR COVID-19 ทุกสัปดาห์และรายงานผลการตรวจให้ทราบทางLine หรือ E-mail
- ทำหนังสือขอฝึกงานถึงผู้อำนวยการโรงพยาบาล
ถ้าอยู่ต่างจังหวัด ไม่สะดวกที่จะมาตรวจที่โรงพยาบาล มีระบบ Telemedicine ปรึกษาแพทย์ online หรือไม่
คลินิกพยาธิ และคลินิกโรคอุจจาระร่วง มีระบบ Telemedicine ผู้ป่วยสามารถพูดคุยปรึกษาแพทย์ได้ โดยผู้ป่วยที่สนใจจะต้องทำนัดหมายตามปกติ และเจ้าหน้าที่จะแจ้งช่องทางในการพูดคุยกับแพทย์ผ่านระบบ Video conference