การนวดตัว
การนวดตัวเป็นการนวดตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้าเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตในร่างกายให้เกิดการไหลเวียนดียิ่งขึ้น และจะช่วยให้กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังพืด และข้อต่อต่างๆในร่างกายเกิดการคลายความตึงตัว มีความยืดหยุ่น
รวมทั้งช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้เกิดการรับรู้ในการสัมผัส ซึ่งเป็นการจัดสมดุลของสรีระและอวัยวะต่างๆของร่างกายให้เกิดประลิทธิภาพมากขึ้น
การนวดกดจุดฝ่าเท้า
การนวดเท้าพัฒนามาจากศิลปะการนวดแบบจีน ซึ่งมีมานานกว่า 3,000 ปี โดยเชื่อว่าอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีส่วนของปลายประสาทกระจายไปติดต่อกับอวัยวะอื่นทั่วร่างกาย รวมทั้งฝ่าเท้าด้วย
เพราะฉะนั้นเมื่อกดนวดที่ฝ่าเท้าจึงเท่ากับเป็นการกระตุ้นและปรับการทำงานของอวัยวะทั่วร่างกาย บรรเทาอาการปวด เมื่อยล้าและช่วยผ่อนคลายเส้นเอ็นกล้ามเนื้อน่อง ขา และข้อเท้า
การนวดศีรษะ คอ บ่า และไหล่
การนวดศีรษะคอ บ่า ไหล่เป็นการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคไมเกรนซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือใช้โทรศัพท์มือถือนานหลายชั่วโมงติดต่อกัน ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นเกิดการหดตัว เกิดอาการปวดเมื่อยล้าบริเวณคอบ่าไหล่ได้
หน่วยเวชศาสตร์แผนไทยจึงได้นำเก้าอี้สำหรับการนวดเพื่อรักษาและเกิดประสิทธิผลถูกตามหลักสรีระของร่างกาย
การนวดประคบ
การนวดประคบเป็นการนวดโดยใช้ลูกประคบสมุนไพรแห้งและความร้อนซึ่งมีคุณสมบัติในการปรับสภาพผิว คลายเส้นเอ็นที่ตึง ลดอาการปวด บวม บรรเทาการอักเสบของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อและเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
เกี่ยวกับหน่วยเวชศาสตร์แผนไทย
หน่วยเวชศาสตร์แผนไทย เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ให้บริการบำบัดรักษาแก่ผู้ปวย และบุคคลทั่วไปที่มีอาการปวดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและข้อต่อต่างๆ รวมทั้งบรรเทาอาการไมเกรน ไหล่ติด คอเคล็ด คอตกหมอน โดยใช้วิธีทางเวชศาสตร์แผนไทย ทำให้สามารถลดการใช้ยาแก้ปวดโดยไม่จำเป็น
โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนให้ความสำคัญกับมาตรฐานวิชาชีพ และการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยอัตราค่าบริการนวดแผนไทย
*ราคา ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2566
- ข้าราชการเบิกค่ารักษาได้ ครั้งละ 200 บาท/ครั้ง, นวดประคบเบิกได้ ครั้งละ 250 บาท/ครั้ง (ตามประกาศของกระทรวงการคลัง วันที่ 12 พฤศจิกายน 2558)
- ใน 1 เดือน ไม่ควรนวดเกิน 12 ครั้ง
ข่าวประชาสัมพันธ์ : Information
คำถามที่ถามบ่อย : FAQ
ต้องการใช้สิทธิเบิกต้นสังกัด ต้องทำอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีสิทธิเบิกกรมบัญชีกลางหรือหน่วยงานที่ให้เบิกโดยการใช้ใบรับรองแพทย์ ต้องพบแพทย์เพื่อตรวจและวินิจฉัยโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ในวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00 – 11.30 น. (พบแพทย์ 1 ครั้ง สามารถนวดได้ไม่เกิน 12 ครั้ง/เดือน)
สิทธิที่สามารถเบิกได้
- ข้าราชการกรมบัญชีกลาง (จ่ายตรง)
- ข้าราชการกรุงเทพมหานคร (จ่ายตรง)
- ข้าราชการองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (จ่ายตรง)
- รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน ตั้งเบิกได้ตามเงื่อนไขขององค์กรนั้นๆ (เงินสด ตั้งเบิกภายหลัง)
หน่วยเวชศาสตร์แผนไทยมีการป้องกันการติดเชื้อ COVID19 อย่างไร
หน่วยเวชศาสตร์แผนไทยให้ความสำคัญกับการป้องกันโรคอย่างเข้มข้นโดย
- ซักประวัติและวัดไข้ผู้รับบริการและผู้ให้บริการทุกคน
- จัดพื้นที่ห่างระหว่างบุคคลมากกว่า 1.5 เมตร
- ผู้ให้บริการและผู้รับบริการต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- งดการปูผ้า หรือใช้ปลอกหมอน และเมื่อนวดเสร็จจะมีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันที
- มีแอลกอฮอล์เจลบริการทุกจุดให้บริการ
สามารถนัดหมายเพื่อรับการบริการนวดแผนไทยได้ทางใดบ้าง
- สามารถ walk in ได้
- สามารถนัดหมายเบื้องต้นทางโทรศัพท์ได้ที่เบอร์ 02-3069169-70 ( แต่ในช่วงที่ยังเฝ้าระวัง COVID-19 ยังจำกัดจำนวนผู้รับบริการ เมื่อนัดหมายแล้วอาจยังต้องติดต่อรอคิวที่แผนก ขออภัยในความไม่สะดวก)
- สามารถจองคิวนัดหมาย online ได้ที่ https://tropmedhospital.net/booking/thai-massage.html
ติดต่อเรา : Contact us
หน่วยเวชศาสตร์แผนไทย โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ชั้น 1 อาคารศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ
เลขที่ 420/6 ถนนราชเทวี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
เบอร์โทรศัพท์: 02-3069169, 02-3069100 ต่อ 1652
วันและเวลาทำการ : Service Hours
เวลาทำการ
ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2564 ให้บริการ วันจันทร์ – อาทิตย์ เวลา 07.00 – 19.00น. (ปิดรับบัตรเวลา 17.30 น.)
เวลาแพทย์ออกตรวจ
วันจันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00 – 11.30น.
ยกเว้นวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์