Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าหากวินิจฉัยช้าหรือรักษาได้ไม่ทัน ถึงขั้นเสียชีวิตได้!!! สาเหตุ: ในชีวิตประจำวันของเรายากที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ พอโดนแดดนานๆ อาจเกิดโรคลมแดดขึ้นซึ่งมีที่มาจากความร้อน 2 แหล่งคือ 1. ความร้อนจากภายนอก เช่น แสงแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง 2. ความร้อนจากภายใน คือ ความร้อนภายในร่างกาย ที่เกิดจากการเผาผลาญจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปรกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่ายกายจะปรับตัวมีการสูบฉีดโลหิต และหัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่นค้าง ทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติไปจนทำให้เกิดไตวาย ความแตกต่างระหว่างโรคลมแดด และเป็นลม คนที่เป็นโรคลมแดดตัวจะแห้ง เนื่องจากเหงื่อออกไปเยอะจนไม่มีจะออกแล้ว และตัวจะร้อนมากอุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงมาก อาจสูงขึ้นมากกว่า…

งานกายภาพบำบัด ได้รับประกาศนียบัตรเนื่องด้วยไม่มีบุคลากรในหน่วยงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

วันที่ 20 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชรพงศ์ ปิยะภาณี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบประกาศนียบัตรแก่งานกายภาพบำบัด เนื่องจากไม่มีบุคลากรในหน่วยงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งแต่เริ่มการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย จนถึง 5 เมษายน 2565 รวม 814 วัน พร้อมทั้งได้รับชุดตรวจ ATK จำนวน 28 ชุด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่นักกายภาพบำบัด ได้ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างปลอดภัยทั้งบุคลากรและผู้มารับบริการต่อไป

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ หน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีทั้งCOVID-19 โรคต่างๆ และมลพิษทางอากาศก็ยังไม่เว้น วันนี้แอดมินจะมาแนะนำหน้ากากชนิดต่างๆ ที่ทุกท่านน่าจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปลุยกันเลยครับ 1. หน้ากากอนามัยชนิด N95 หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆได้(หากใส่ถูกวิธี) โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป เพราะลักษณะของหน้ากากอนามัย N95 นี้มีลักษณะครอบลงไปที่บริเวณหน้าปาก และจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสหรือสารปนเปื้อนไม่สามารถลอดผ่านได้ และ แน่นอนสามารถป้องกันอนุภาคขนาดเล็กอย่าง PM2. ที่เมืองไทยเผชิญอยู่ในขณะได้ในระดับดีมากอีกด้วย Note : หากใส่เป็นเวลานานจะทำให้หายใจลำบาก อาจจะไม่เหมาะในการใส่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งของที่มีคุณภาพ อาจมีราคาสูงอีกด้วย 2. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แม้จะมีขายตามท้องตลาดทั่วไป หน้าตาคล้ายๆกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่ากัน ถ้าสามารถเลือกซื้อที่มีคุณภาพได้ ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น หน้ากากทางการแพทย์ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี และสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ สําหรับวิธีการใส่ควรใส่โดยการนําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสาร คัดหลั่งจากคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับปานกลางถึงดี แต่หากใส่ 2 ชั้นซ้อนกันก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย Note : ควรใส่ให้ถูกต้องโดยให้ฝั่งด้านบนที่มีลวดแข็งอยู่ที่สันจมูก และด้านล่างให้ดึงลงมาครอบปลายคางตลอดเวลา แนะนำเลือกใช้ที่มีคุณภาพ และใช้แล้วทิ้งไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ 3.…

ไข้เลือดออก 2022

ไข้เลือดออก 2022 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกว่า 50,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 60 ราย (ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 – 2564) ถึงแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่ดูสูงมาก แต่โรคไข้เลือดออกก็ยังคงเป็นโรคที่ต้องระมัดระวังคนในครอบครัวอยู่ในทุกๆปี แต่ช้าก่อน! วันนี้แอดมินจะไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของไข้เลือดออก แต่จะเป็นการแนะนำหากท่านมีอาการที่เข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ในช่วงโควิด ปี 2022 นี้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? 1. เช็คอาการก่อนว่ามีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนัง หรือไม่ 2. ทำการตรวจ ATK ซึ่งเป็นพื้นฐานในช่วงนี้อยู่แล้ว หากผลเป็นลบให้สังเกตอาการที่อาจจะรุนแรงของไข้เลือดออก เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องมาก หน้ามืด เป็นลม สับสน ตัวเย็น เป็นต้น (หากผลเป็นบวกให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของ COVID – 19 ต่อไป) 3. ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน ในขั้นตอนนี้ให้เช็ควัน…

โซเดียม ทำให้ตัวบวม?

โซเดียม ทำให้ตัวบวม? วันนี้เราจะมาถาม-ตอบ กันในเรื่อง “โซเดียมทำให้ตัวบวม?” คำถามง่ายๆที่หลายๆท่าน และแอดมินเองก็แอบสงสัย ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยครับ! Q: โซเดียมมาจากอะไร ทำไมขนม หรืออาหารถึงมีโซเดียม? A: โซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ ทั้งนี้ในอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และอาหารประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ มักมีโซเดียมน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนม Q: โซเดียมมีรสชาติมั้ย? A: เป็นคำถามที่อาจจะฟังดูประหลาด แต่มีหลายคนคงอยากจะรู้(รึป่าวไม่แน่ใจ) อันที่จริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุ โดยมากจะอยู่ในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น เกลือ เกลือแกง กะปิ น้ำปลา อาหารหมักดอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ…