เตรียมสุขภาพก่อนการเดินทาง

เตรียมสุขภาพก่อนการเดินทาง ช่วงปลายปีอากาศดีๆแบบนี้ หลายท่านคงจะวางแผนที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวเก็บประสบการณ์ดีๆในช่วงนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม นอกจากการเตรียมจองที่พักก็คือเรื่องสุขภาพ แน่นอนว่าเราคงแพลนไม่ได้ว่าเราจะไม่สบายช่วงไหนแต่สิ่งที่ทำได้ก็คือการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกไปท่องโลกกว้าง วันนี้แอดมินจะแนะนำหลักทั่วไปในการเดินทางเบื้องต้นว่าควรต้องทำอะไรบ้าง ไปลุยกันเลยครับ 1. รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงก่อนการเดินทาง เบสิคเลยคือไม่ควรเดินทางทั้งๆที่ยังไม่สบายอยู่ ใครที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ โดยเฉพาะการเดินทางไปต่างประเทศหรือไปเป็นระยะเวลานาน และต้องเตรียมยาสามัญประจำตัวไปด้วยเสมอ 2. หาข้อมูลสถานที่หรือประเทศที่เราจะเดินทางไป ว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพในด้านไหนบ้าง เพราะแต่ละแต่ละพื้นที่จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น หากจะไปเที่ยวตามป่าเขาก็ต้องระวังโรคมาลาเรีย เพราะเข้าไปในพื้นที่ที่มียุงก้นปล่องอยู่ซึ่งเป็นตัวการนำโรค ซึ่งยุงชนิดนี้จะไม่มีในเขตเมืองหรือชุมชน ฉะนั้นเวลาไปเที่ยวป่าก็ต้องระวังอย่าให้ยุงกันเตรียมยาทาและเครื่องป้องกันให้ดี หรือหากเป็นเรื่องอาหารการกินอาจต้องระวังพวกโรคท้องเสีย ท้องร่วงไว้ด้วย กินสุก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือช่วยท่านได้ 3. หากท่านมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และเตรียมยาประจำตัวให้เรียบร้อย รวมไปถึงเอกสารทางการแพทย์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยเสมอ 4. นอกจากการป้องกันโรคติดต่อแล้ว นักท่องเที่ยว/นักเดินทางไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายอื่นๆ เช่นอุบัติเหตุ และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ไม่ควรแต่งกายประดับด้วยของมีค่า ซึ่งจะล่อตามิจฉาชีพ และควรศึกษาว่าพื้นที่ใดหรือแหล่งใดไม่ควรเดินทางเข้าไป เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ตัวเองได้ และไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งโอกาสเกิดอันตรายมีสูง จะไม่คุ้มกับเงินที่อาจจะประหยัดได้ ทั้งหมดนี้ เป็นประเด็นเบื้องต้นที่ควรพิจารณาก่อนการเดินทาง อย่างไรก็ดีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางแต่ละคนจะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น ระยะเวลาเดินทาง กิจกรรมที่จะไปทำ ไปกันกี่คน ฯลฯ ประเด็นต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ…

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว ไวรัสโรตาเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดท้องร่วงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดต่อโดยการจับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค แล้วมาจับปากหรือนำเข้าไปในปากโดยตรง สำหรับอาการเด่นๆเลยก็จะมีไข้ ตามด้วยอาเจียน ท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำ บางรายอาจไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย จนอาจเกิดอาการช็อค ถาม : โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้มั้ย? ตอบ :ได้ครับ แต่จะพบมากในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ถาม : แล้วทำไมต้องระมัดระวังในช่วงหน้าหนาว? ตอบ : เชื้อจะเจริญเติบโต และแพร่กระจายตัวได้ดีในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น จึงพบมากในฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว จะทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น ถาม : ถ้ามีอาการควรทำอย่างไรดี ตอบ : ความจริงแล้วหากมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ทดแทน พักผ่อนให้เพียงพอ…

พยาธิใบไม้ตับ Liver Fluke

พยาธิใบไม้ตับ LIver Fluke “มื้อที่สุกที่สุด คือมื้อที่ปลอดภัยที่สุด” แต่เจ้าตัวในรูปที่หน้าตาประหลาดๆนี่คือ “พยาธิใบไม้ตับ” เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ใครเป็นสายทานปลาน้ำจืดดิบๆ ลาบปลาดิบ ก้อยปลาดิบ ควรต้องอ่านครับ วันนี้ทางรพ.ขอนำ Q&A สั้นๆ เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ในตับ เผื่อจะได้เปลี่ยนใจหันมาทานสุกกันบ้างครับ   ถาม : กินปลาน้ำจืดดิบประจำก็แข็งแรงดี ไม่เห็นมีอาการผิดปกติอะไรเลย ? ตอบ : ส่วนใหญ่คนที่เป็นพยาธิใบไม้ตับ แรกๆ มักจะไม่ค่อยมีอาการ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆ และยังกินอาหาร ที่มีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปอยู่เรื่อยๆ นานเข้าก็จะทำให้มีอาการได้   ถาม : อาหารอะไรที่กินแล้วเป็นพยาธิใบไม้ตับ? ตอบ : พวกปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด แล้วเอามากินแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบดิบ ก้อยปลา เป็นต้น   ถาม : ปลาร้า ปลาส้มที่กินดิบๆ จะมีพยาธิไหม? ตอบ :…

โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต

โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต เป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงการลุยน้ำขังในช่วงหน้าฝนแบบนี้  โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุตจึงเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงน้ำท่วม โรคนี้เกิดได้จากการเดินยํ่านํ้าบ่อยๆ หรือยืนแช่นํ้าที่สกปรกเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ให้ผิวหนังเปื่อย โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้ อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะคือ  ระยะที่ 1 ช่วง 1-3 วันแรก ผิวหนังเปื่อยเมื่อแช่น้ำ แดงคัน แสบ ระคายเคืองและมีการลอกเล็กน้อย ในระยะนี้ให้สังเกตตนเอง และดูแลรักษาความสะอาดแนะนำปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายามาทา ระยะที่ 2 ช่วง 3-10 วัน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ผิวหนังจะเปื่อยมีรอยฉีกขาด มีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ อาจจะมีหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรรีบไปพบแพทย์อย่างด่วน ช่วงที่ 3 ช่วง 10-20 วัน ถ้าแช่น้ำต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผิวหนังจะเริ่มแดง คันมีขุยขาว เปียก เหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาวเป็นขุย หรือลอกบางเป็นสีแดง เป็นระยะที่อันตรายมาก แนวทางการป้องกัน หลังจากการลุยน้ำแล้ว แนะนำให้ล้างเท้า…

สาระน่ารู้คู่ HA – ปี 2567

กลับสู่หน้าแรกสาระน่ารู้คู่ HA เดือนตุลาคม 2566 ” TBA ” เดือนพฤศจิกายน 2566 ” TBA ” เดือนธันวาคม 2566 ” TBA ” เดือนมกราคม 2567 ” TBA ” เดือนกุมภาพันธ์ 2567 ” TBA ” เดือนมีนาคม 2567 ” TBA ” เดือนเมษายน 2567 ” TBA ” เดือนพฤษภาคม 2567 ” TBA ” เดือนมิถุนายน 2567 ” TBA ” เดือนกรกฎาคม 2567 ” TBA ” เดือนสิงหาคม 2567 “…

คลินิกพิเศษเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเพิ่มรอบการนัดหมาย Online

คลินิกพิเศษเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเพิ่มรอบการนัดหมาย Online (ประชาสัมพันธ์) คลินิกพิเศษเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเพิ่มรอบการนัดหมาย Online เพื่อให้ทุกท่านเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวกสบายมากขึ้น สามารถนัดหมายเข้าพบแพทย์ได้ที่ https://tropmedhospital.net/booking/tmd-rehab.html  หมายเหตุ : กรุณาอ่านรายละเอียดการให้บริการในหน้านัดหมายให้ครบถ้วน #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #เป็นไข้ให้เขตร้อนดูแล #คลินิกไข้เปิดให้บริการตลอด24ชม.

กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ปี 2566

กลับสู่หน้าแรกกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ ปี 2566 ✱ งานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 3 TropMed Quality Fair 3 “Revolution Towards SDGs : การปฏิรูปสู่ความยั่งยืน” – วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานมหกรรมคุณภาพ ครั้งที่ 3 TropMed Quality Fair 3 “Revolution Towards SDGs : การปฏิรูปสู่ความยั่งยืน” โดยมี รศ.นพ.วีระพงษ์ ภูมิรัตนประพิณ คณบดีคณะเวชศาสตร์เขตร้อน เป็นประธานกล่าวเปิดงาน จากนั้นเป็นการบรรยายพิเศษ “TropMed Talk by Dr.Mai : การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง” โดย ผศ.ดร.วีรณัฐ โรจนประภา ซึ่งมีบุคลากรให้ความสนใจเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้น…

สาระน่ารู้คู่ HA – ปี 2566

กลับสู่หน้าแรกสาระน่ารู้คู่ HA เดือนตุลาคม 2565 ” กิจกรรม 7ส ” เดือนพฤศจิกายน 2565 ” รู้ทันอุบัติเหตุ ” เดือนธันวาคม 2565 ” หลักการใช้รถพยาบาลเบื้องต้น (Ambulance) ” เดือนมกราคม 2566 ” Growth Mindset กรอบความคิดแบบเติบโต ” เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ” การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (Part I) ” เดือนมีนาคม 2566 ” การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 (Part II) ” เดือนเมษายน 2566 ” Safety Design and Compliance ” เดือนพฤษภาคม 2566 “…

ไวรัส RSV

ไวรัส RSV ลูกหลานของท่านกำลังไม่สบายอยู่หรือไม่?  ไวรัส RSV มีชื่อเต็มว่า Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ “มีอาการคลายไข้หวัดแต่จะรุนแรงกว่า และอาจสร้างความรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” อันที่จริงสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ กลุ่มที่เสี่ยงก็จะเป็นเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ โรคนี้ติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำมูก น้ำลาย เสมหะ และอาจแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือการหายใจเอาเชื้อไวรัสที่ลอยฟุ้งอยู๋ในอากาศ หรืออาจจะเป็นการสัมผัสภาชนะหรือพื้นผิวต่างๆ ก็อาจจะติดเชื้อได้เช่นกัน อาการสำคัญของโรคนี้คือ มีไข้ มีน้ำมูก ไอ มีเสมหะ อาจจะดูเป็นอาการพื้นๆทั่วไป แต่ถ้าหากเมื่อไหร่ที่มีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย เบื่ออาหาร เซื่องซึม ต้องรีบไปพบแพทย์อย่างด่วน “เพราะอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนถึงขั้นเสียีวิตได้” หมายเหตุ : RSV ยังไม่มีวัคซีนป้องกันดังนั้น ถ้ามีไข้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง ในช่วงการระบาดของ COVID-19 เราเองได้ทราบการป้องกันตนเองให้ห่างจากการระบาดและปฏิบัติกันมาเป็นอย่างดี ฉะนั้นการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาด ทำความสำอาดของใช้และพื้นผิวต่างๆให้สะอาด รวมไปถึงการดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะเป็นการป้องกันตนเองได้ดีในระดับหนึ่ง ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน