โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว
โรคท้องร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาได้ เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรค อุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้อไกอาเดีย (Giardia) และเชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia)
เชื้ออะมีบา (Amoeba)
เชื้ออะมีบา ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง (เชื้อบิดมีตัว Entamoeda histolytica) อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่และสามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคฝีบิดในตับ ปอด สมอง
ลักษณะพยาธิ Amoeba
รูปพยาธิ Entamoeba histolytica ระยะ trophozoite ขนาด 8-30 ไมครอน ดูจากอุจจาระสดโดยใช้น้ำเกลือนอร์มัล เป็นระยะที่มีการเติบโตกินอาหาร และมีการเคลื่อนไหว โดยอาศัยขาเทียม (pseudopodia) จะเห็นเม็ดเลือดแดง ที่พยาธิกินเข้าไปอยู่เป็นจำนวน มากใน cytoplasm ไม่เห็นนิวเคลียส
รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ trophozoiteได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหาร
รูปพยาธิ E.histolytia ระยะ trophozoite ย้อมด้วยสี trichrome จะเห็นนิวเคลียส 1 อัน และเม็ดเลือดแดงที่เกินเข้าไปเป็นจำนวนมากในนิวเคลียสจะเห็น karyosome ขนาดเล็กอยู่ตรงกลาง ละมี periphera chromatin ขนาดเท่าๆกันอยู่รอบชิดขอบด้านในนิวเคลีย
รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ tropho zoite ย้อมด้วยสี iron-hematoxylin ทำให้เห็นเม็ดเลือดแดงและนิวเคลียสสีดำ
รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ cystดูจากอุจจาระสดโดยใช้น้ำเกลือนอร์มัล จะเห็นรูปร่างกลม ขนาด 10-20 ไมครอน ลกษณะใสอาจเห็น chromatoid body ซึ่งมีสีเขียวอ่นเป็นแท่งยาวหัวมนท้ายมน ไม่เห็นนืวเคลียส
รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ cyst ย้อมด้วย iodine จะเห็นดป็นสีเหลือง อาจเห็นนิวเคลียสจำนวน 1-4 อัน ขณะที่เป็น cyst พยาธิสะสมอาหารจำพวก protein ในรูป chromatoid body ซึ่งไม่ติดสีของ iodine ส่วนอาหารจำพวก carbohydrate จะอยู่ในรูป glycogen mass ซึ่งติดสีของ iodine เห็นเป็นสีเหลือง
รูปพยาธิ E.hustolytica ระยะ cyst ที่มี 1 และ 2 นิวเคลียส ย้อมด้วยสี trichrome เห็นนิวเคลียสชัดเจน chromatoid body ติดสีม่วง ส่วน glycogen mass ไม่ติดสีจะเห็นเป็นช่องว่าง
วงจรชีวิตอะมีบา
อาการ
ถ้าเชื้ออยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดโรคบิดมีตัว (Amoebic dysentery) จะมีอาการปวดเบ่ง อุจจาระเป็นมูกเลือด มีกลิ่นเหม็นเหมือนกุ้งเน่า มีไข้ต่ำ ถ้าเชื้อกระจายไปทำให้เกิดโรคฝีบิดในอวัยวะต่างๆ จะมีอาการผิดปกติ ของอวัยวะนั้นๆ
เชื้อไกอาเดีย Giardia
เชื้อไกอาเดีย Giardia intestinalis ชื่อเดิมคือ Giardia lamblia อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กส่วนต้นของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบางชนิด
ลักษณะพยาธิ Giardia
รูปพยาธิ Giardia lamblia ระยะ trophozoitr ย้อมด้วนสี Giemsaขนาดยาว 9-21 ไมครอน กว้าง 5-15 ไมครอน ปลายด้านหน้ากลมมนด้านหางเรียวแหลม มีนิวเคลียส 2 อัน karyosome ขนาดใหญ่ไม่มี peripheral chromatin มีหนวด (flagella) 4 คู่ มี median body(parabasal body) เป็นแท่งโค้ง 2 อัน
รูปพยาธิ G. lamblia ระยะ trophozoite ย้อมด้วยสี trichrome เห็นนิวเคลียส 2 อัน และเห็น median body
รูปพยาธิ G.lamblia ระยะ trphozoite ย้อมด้วย iodine จะเห็นด้านล่างเว้าเป็น sucking disc
รูปพยาธิ G.lamblia ระยะ cysl ย้อมด้วย iodine เห็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อนเมื่อออกมา กับอุจจาระใหม่ๆ จะมีนิวเคลียส 2 อัน ถ้าcyst ที่เจริญเต็มที่จะมีนิวเคลียส 4 อัน ในรูปเห็นนิวเคลียสไม่ชัด เห็น axoneme ผ่านตามยาว
รูปพาธิ G. lamblia ระยะ cyst ย้อมด้วย iodine เห็นสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อนเมื่ออกมากับอุจจาระใหม่ๆ จะมีนิวเคลียส 2 อัน ถ้า cyst ที่เจริญเต็มที่จะมีนิวเคลียส 4อัน ในรูปเห็นนิวเคลียสไม่ชัด เห็น axoneme ผ่านตามยาว
รูปพยาธิ G.lamblia ระยะ cystย้อมด้วยสี trichromeเห็นผนังของ cyst แยกจากส่วน cytoplasm ได้ชัดเจนมีนิวเคลียส 4 อัน aonemeเป็นเส้นผ่านตามยาวของcyst ติดสีน้ำเงิน และ median bodyเป็นเส้นโค้งติดสีน้ำเงิน
วงจรชีวิต Giardia
อาการ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุระหว่าง 4-12 ปี มีอาการท้องอืด ท้องเสีย อุจจาระเหลว
มีกลิ่นเหม็นบูด ลักษณะลอยเพราะมีไขมัน เด็กที่ป่วยเรื้อรังอาจเกิดภาวะขาดสารอาหารและเจริญเติบโตช้า
เชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia)
เชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia) ที่ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง เชื้อเหล่านี้ได้แก่
Cryptosporidium, Cyclospora, Isospora และพวก Microsporidia ส่วนใหญ่เป็นเชื้อฉวยโอกาสในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ลักษณะพยาธิ Coccidia
รูปพยาธิ Cryptosporidium spp. ระยะ oocyst จากอุจจาระย้อมด้วยวิธีmodified acid-fast stain ขนาดดล็ก 4-5 ไมครอน ติดสีแดง ใน oocyst มี sporozoite 4 ตัว รูปร่างคล้ายพระจันทร์เสี้ยวหรือกล้วยหอม(ถ้าดูอุจจาระสดด้วยน้ำเกลือนอร์มัล จะเห็นเป็นลักษณะกลมวาวๆ แยกจากพยาธิตัวอื่นไม่ได้)
วงจรชีวิต Coccidia
อาการ
ในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีอาการถ่ายอุจจาระเรื้อรัง และเกิดภาวะขาดสารอาหารได้
การวินิจฉัย
ตรวจอุจจาระเพื่อหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค
การติดต่อ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการปนเปื้อนอาหารหรือน้ำดื่ม ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วง และเชื้อออกมากับอุจจาระ ติดต่อสู่คนได้
การรักษา
เมื่อมีอาการควรพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษา
การป้องกัน
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกด้วยความร้อนและดื่มน้ำที่สะอาด เช่น น้ำต้มสุก ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ