โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว โรคท้องร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาได้ เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรค อุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้อไกอาเดีย (Giardia) และเชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia) เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้ออะมีบา ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง (เชื้อบิดมีตัว Entamoeda histolytica) อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่และสามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคฝีบิดในตับ ปอด สมอง ลักษณะพยาธิ Amoeba รูปพยาธิ Entamoeba histolytica ระยะ trophozoite ขนาด 8-30 ไมครอน ดูจากอุจจาระสดโดยใช้น้ำเกลือนอร์มัล เป็นระยะที่มีการเติบโตกินอาหาร และมีการเคลื่อนไหว โดยอาศัยขาเทียม (pseudopodia) จะเห็นเม็ดเลือดแดง ที่พยาธิกินเข้าไปอยู่เป็นจำนวน   มากใน cytoplasm ไม่เห็นนิวเคลียส รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ trophozoiteได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหาร รูปพยาธิ E.histolytia ระยะ trophozoite ย้อมด้วยสี trichrome จะเห็นนิวเคลียส 1 อัน…

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า Leptospira จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู แต่สัตว์ต่างๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย การติดต่อ โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนานๆ แหล่งระบาด โรคนี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน อาการ คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง…

โรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis : JE)

โรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis : JE) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง โดยมีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งมักแพร่พันธุ์ในนาข้าว โรคนี้เป็นโรคสมองอักเสบ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย การติดต่อ โรคนี้มีหมูเป็นรังโรค เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในหมูอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการป่วย เมื่อยุงรำคาญชนิดที่เป็นพาหะ มากัดและดูดเลือด ไวรัสจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง ซึ่งจะสามารถแพร่โรคไปให้คนหรือสัตว์ที่ถูกกัดได้ เช่น ม้า วัว ควาย แพะ แกะ และนก เป็นต้น แหล่งระบาด โรคนี้มีรายงานครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันพบโรคนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู พบผู้ป่วยมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มุกดาหาร กำแพงเพชร สมุทรสาคร และน่าน อาการ ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ ประมาณว่าผู้ติดเชื้อ 300 คน อาจป่วยเป็นโรคนี้ได้ 1 คน ผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 5-15 วัน ในระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน…

โรคพยาธิ

สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับโรคพยาธิ โรคพยาธิตัวจี๊ด Gnathostomiasis รายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิใบไม้ตับ Liver flukes รายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิหอยโข่งAngiostrongylus cantonensisรายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิเท้าช้างต่อมน้ำเหลืองWuchereria bancroftiรายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิใบไม้ปอดParagonimus heterotremusรายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิชอนไชผิวหนังCutaneous larva migransรายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิ คืออะไร พยาธิคือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหารหรือดูดเลือดและมักจะทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มันอาศัยอยู่พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน นอกจากนี้เราสามารถพบระยะต่างๆ ของพยาธิปะปนอยู่ในธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมัน เช่น ในดิน พื้นหญ้า ในน้ำ ในเนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชผักต่างๆ น้ำดื่ม และในแมลงพาหะนำโรคหลายชนิด พยาธิเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้หลายทางที่สำคัญ คือ ทางปาก เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวตืดชนิดต่างๆ พยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้ลำไส้บางชนิด พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ปอด และพยาธิหอยโข่ง ทางผิวหนัง เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ทางสายรกในครรภ์ เช่น พยาธิตัวจี๊ด จะรู้อย่างไรว่าเป็นโรคพยาธิ เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น หิวบ่อยและทานอาหารมาก น้ำหนักลด ท้องอืด ท้องเฟ้อ…

ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever)

ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) สาเหตุของโรค เกิดจากไวรัสเดงกีซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ การติดเชื้อตรั้งแรกมักจะมีอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าติดเชื้อครั้งที่ 2 โดยเชื้อที่ต่างสายพันธุ์กับครั้งแรก อาการมักจะรุนแรงถึงขั้นเลือดออกหรือช็อค หรือเสียชีวิต โรคนี้พบมาก ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การติดต่อ โรคนี้ติดต่อจากคนสู่คน โดยมียุงลาย (Aedes aegypt ) เป็นพาหะที่สำคัญ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดของผู้ป่วยซึ่งมีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในยุงหลังจากนั้นยุงจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอดอายุของมัน (ประมาณ 1-2 เดือน) และสามารถถ่ายทอดเชื้อให้คนที่ถูกมันกัดได้ ยุงลายเป็นยุงที่อาศัยอยู่ภายในบ้านและบริเวณบ้าน มักจะกัดเวลากลางวัน แหล่งเพาะพันธุ์ คือ น้ำใสที่ขังอยู่ตามภาชนะเก็บน้ำต่างๆ เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ถ้วยรองขาตู้ จาน ชาม กระป๋อง หม้อ กระถาง ยางรถ เป็นต้น โดยทั่วไปโรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เนื่องจากเด็กมักอยู่ในบ้านมากกว่าฤดูอื่นๆ และยุงลายมีการแพร่พันธุ์มากในฤดูฝน แต่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ อาจพบโรคนี้ได้ตลอดปี อาการ ในการติดเชื้อไวรัสแดงกีครั้งแรก…