Traditional Chinese Medicine Unit

Thai About UsScheduleServices Booking Traditional Chinese Medicine Unit Traditional Chinese medicine is an alternative medicine for the treatment of various diseases and symptoms. Our traditional Chinese medicine unit provides comprehensive treatment with several methods including acupuncture, acupuncture with electrical stimulation, and cupping therapy by experienced professionals. Acupuncture Acupuncture is the practice of penetrating the skin…

วัคซีนไข้เหลือง (Yellow fever vaccine) พร้อมให้บริการแล้ว!

วัคซีนไข้เหลือง (Yellow fever vaccine) พร้อมให้บริการแล้ว! วัคซีนไข้เหลือง (Yellow fever vaccine) พร้อมให้บริการแล้ว! ท่านใดวางแผนจะไปท่องเที่ยว ทวีปแอฟริกา อเมริกาใต้ เช็ครายละเอียดด่วน และนัดหมายเข้ามาพบแพทย์ได้ที่ : https://www.thaitravelclinic.com/index.php… อ่านบทความสุดจ๊าบเกี่ยวกับวัคซีนไข้เหลืองได้ที่ : https://www.thaitravelclinic.com/…/table-of-content… #คลินิกท่องเที่ยว #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #Y2K

โครงสร้างศูนย์รังสีวินิจฉัย

โครงสร้างหน่วยงาน ผศ. พญ. ชญาสินธุ์ แม้นสงวน รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน นาย เกียรติศักดิ์  พรมภักดิ์ นักรังสีการแพทย์ นางสาว ปณัฐดา  สอนศรี นักรังสีการแพทย์ นางสาว วันเพ็ญ  เครือเทศ พนักงานการแพทย์ และรังสีเทคนิค นางสาว จุราภรณ์ อุปลักษณ์ พนักงานธุรการ นางสาว ลัดดา  หงษ์ศิลา พนักงานทั่วไป

การขอรับผลการตรวจ และแผ่น CD บันทึกภาพการตรวจ

การขอรับผลการตรวจ และแผ่น CD บันทึกภาพการตรวจ ช่องทางการขอรับผลตรวจ งานรังสีวินิจฉัยให้บริการแก่ผู้รับบริการที่ต้องการขอรับผลการตรวจจากงานรังสีวินิจฉัยในรูปแบบ Official report (A4), และ CD/DVD (ทั้งภาพและรายงานการตรวจ มีค่าบริการ 50 บาท) โดยสามารถติดต่อขอรับผลการตรวจได้ 2 ช่องทาง 1. ติดต่อขอรับด้วยตัวเองที่งานรังสีวินิจฉัย ชั้น 4 อาคารราชนครินทร์ ทุกวัน เวลา 8.00 – 16.00 น. 2. ติดต่อขอรับผลผ่านช่องทาง Line Official Account โดยทำการแอดไลน์มาที่  @254ppxmd : XrayTropicalMedicine หรือ คลิกที่นี่ หมายเหตุ – หากต้องการเฉพาะ Official report (A4) เจ้าหน้าจะทำการจัดส่งผ่านทางอีเมลล์ – การรับผลการตรวจในรูปแบบ CD/DVD เจ้าหน้าที่จะทำการจัดส่งผ่านทางไปรษณีย์ บริการเพิ่มเติม นอกจากนี้งานรังสีวินิจฉัยยังให้บริการนำผลและภาพสำหรับวินิจฉัยจากหน่วยงานอื่น มาลงในระบบ PACS…

ทำเนียบผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

นางสุริยา มงคลเกษม พ.ศ. 2508 – 2537 นางศรีสุรางค์ ตันตระกูล พ.ศ.2537-2538 นางวิไล คงรอด พ.ศ.2538- 2540 นางบังเอิญ ระดมยศ พ.ศ.2540 -2541 นางลดาวัลย์ สุภีรนันท์ พ.ศ.2541-2551 นางสาวสุภาพ วัณณะพันธุ์ พ.ศ.2551-2554 นางศุกร์วันณี จุลวิชิต พ.ศ.2554-2557 นางฐิติพร เเก้วรุณคำ พ.ศ.2557-2561 นางกองเเก้ว ย้วนบุญหลิม พ.ศ.2561-ปัจจุบัน

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) ฝนตกอีกแล้ว…. เชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินชื่อโรคไข้ฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ที่พูดกันบ่อยๆ แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ร้ายไม่ใช่แค่หนูตามชื่อ แต่ยังรวมไปถึง หมา แมว วัว ควาย หมู ฯลฯ จึงเกิดเป็นมหากาพย์ความรู้ในวันนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ ถาม: อ่าว แล้วทำไมถึงเรียกว่าไข้ฉี่หนู? ตอบ: ในตอนแรกๆที่มีการค้นพบโรคนี้ พบว่าเชื้ออยู่ในปัสสาวะของหนู จึงเรียกว่าฉี่หนู แต่ภายหลังพบว่าสัตว์อื่นก็นำโรคได้ แต่ก็ยังเรียกโรคฉี่หนูเรื่อยมาด้วยความเคยชินครับ ถาม: ใครบ้างที่จะเสี่ยงโรคนี้? ตอบ: ต้องขอเกริ่นก่อนว่า สัตว์เหล่านี้(ที่กล่าวข้างต้น) จะมีเชื้อเลปโตสไปรา(Leptospira) อยู่ในตัวและจะติดเชื้อที่ท่อไตจากนั้นจะปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยใดๆเลย ลองนึกภาพตามนะครับ พอฝนตกลงมาก็จะพัดพาเอาเชื้อพวกนี้ไปรวมกันอยู่บริเวณน้ำท่วมขัง เชื้อก็จะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือที่มีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า หรือบาดแผล ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำ คนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังนานๆ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวเดินป่าที่ไปย่ำนำขัง ก็อาจมีความเสี่ยงได้ ถาม: หลังจากติดเชื้ออาการจะเป็นยังไงบ้าง? ตอบ: คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ…

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น ”โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้” เดิมทีโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อันที่จริงไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้ที่ต้องมีการเตือนประชาชนให้ดูแลป้องกันตนเองเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วในหลายประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น การติดต่อ>>> คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ อาการ>>> เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง…