ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์คลินิก

ห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและห้องปฏิบัติการจุลทรรศนศาสตร์คลินิกHematology and Clinical Microscopy งานบริการStool Examination การตรวจวินิจฉัยปรสิตด้วยวิธี Stool concentration technique ******เป็นการตรวจหาปรสิตในอุจจาระแบบเข้มข้น โดยใช้ Formalin ethyl acetate concentration technique ซึ่งใช้ปริมาณอุจจาระมากกว่าวิธี Direct wet smear ทำให้มีอัตราการพบปรสิตเพิ่มมากขึ้น หลักการของวิธีนี้โดยแยกสารที่เป็นส่วนประกอบของอุจจาระออกให้มากที่สุดด้วย ethyl acetate และเร่งการตกตะกอนด้วยการปั่น สามารถใช้ได้กับอุจจาระสด  โดยเฉพาะกับอุจจาระที่มีไขมันมาก ๆ จะให้ผลดี เพราะ ethyl acetate จะช่วยละลายไขมันและแยกตัวออกไป  นอกจากนั้นฟอร์มาลิน  จะช่วยรักษาสภาพของไข่หรือซีสต์ สิ่งส่งตรวจ อุจจาระ (Stool) ตัวอย่างที่เหมาะสมในการตรวจคือ อุจจาระที่ผู้ป่วยถ่ายออกมาตามธรรมชาติ วิธีการเก็บอุจจาระที่ถูกต้อง ควรเก็บอุจจาระที่ถ่ายใหม่ๆ และถ่ายลงในกระโถนหรือบนกระดาษที่สะอาด ไม่เก็บอุจจาระที่ถ่ายลงบนพื้นดิน เนื่องจากอาจมีการปนเปื้อน จากนั้นให้ใช้ไม้หรือช้อนพลาสติกที่สะอาดป้ายอุจจาระ เก็บโดยให้กระจายเก็บให้ทั่วก้อนอุจจาระและเลือกเก็บอุจจาระในบริเวณที่มีสีแตกต่างกันหรือเลือกจุดที่มีความผิดปกติ เพื่อเพิ่มความแม่นของผลการตรวจใส่ภาชนะให้ได้รวมกันประมาณขนาดนิ้วหัวแม่มือ ตัวอย่างอุจจาระที่เก็บมาจากบ้านควรนำส่งถึงห้องปฏิบัติการภายใน 4 ชั่วโมง ในกรณีที่ยังไม่สามารถส่งตัวอย่างได้ต้องเก็บในตู้เย็นในช่องธรรมดา ภาชนะที่ใช้ในการเก็บ ควรใช้ภาชนะที่เก็บอุจจาระที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ หากไม่มี…

การสังเกตอาการ COVID-19 และจำแนกตนเองตามสี

การสังเกตอาการ COVID-19 และจำแนกตนเองตามสี หลังจากที่ท่านทราบว่าผลการตรวจว่าเราติด COVID-19 ให้ท่านลองสังเกตอาการและจำแนกตนเองตามสีดังนี้ 1. ผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีอาการรุนแรง มีไข้ 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น ถ่ายเหลว ไม่มีอาการ หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หรือหายใจลำบาก ไม่มีปอดอักเสบ มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญ 2. ผู้ป่วยสีเหลือง มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือโรคร่วมสำคัญข้อใดข้อหนึ่ง แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เวียนศรีษะ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบากหรือเวลาไอแล้วเหนื่อย ปอดอักเสบ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน ร่วมกับมีอาการหน้ามืด วิงเวียน 2. ผู้ป่วยสีแดง หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยคขณะสนทนา แน่นหน้าอกตลอดเวลา เจ็บหน้าอกขณะหายใจ เรียกไม่รู้สึกตัว มีอาการเซื่องซึม ตอบสนองช้า ปอดบวม ที่มีออกซิเจนปลายนิ้วขณะพัก <96%…

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน COVID-19 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเปิดให้บริการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว

ศูนย์บริการฉีดวัคซีน COVID-19 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน พร้อมเปิดให้บริการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว ศูนย์บริการฉีดวัคซีน COVID-19 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ร่วมกับ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมเปิดให้บริการฉีดวัคซีน COVID-19 แล้ว โดยทางโรงพยาบาลจะใช้พื้นที่ บริเวณอาคารราชพฤกษ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์(ด้านหลังรพ.) เป็นพื้นที่ในการให้บริการกลุ่มเป้าหมายที่ทำการลงทะเบียนไว้กับทางโรงพยาบาลฯ ขอให้ทุกท่านเดินทางมารับบริการตามวันที่ได้ลงทะเบียนไว้นะครับ หมายเหตุ : แนะนำผู้เข้ารับบริการเดินทางมาด้วยขนส่งสาธารณะ เนื่องจากพื้นที่ในการจอดรถมีจำนวนจำกัด ขอบคุณครับ แผนที่การเดินทางโดยละเอียด : https://tropmedhospital.net/map-and-direction คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน COVID-19 : https://tropmedhospital.net/covid-vaccine

ท่านเสี่ยงต่อ COVID -19 แล้วหรือยัง?

ท่านเสี่ยงต่อ COVID -19 แล้วหรือยัง? ผู้สัมผัสใกล้ชิด เสี่ยงสูง คือ 1. ผู้ที่อยู่ใกล้หรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร เป็นเวลานานกว่า 5 นาที หรือถูกไอ จามรดจากผู้ป่วย 2. ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศมากนัก ร่วมกับผู้ป่วย โดยอยู่ห่างจากผู้ป่วย ในระยะ 1 เมตร เป็นเวลานานกว่า 15 นาที เช่น ในรถปรับอากาศ ห้องปรับอากาศ ห้องประชุม เป็นต้น หรือทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น รับประทานอาหาร และเงื่อนไขเหล่านี้ก็ถือว่ามีความเสี่ยงสูง คือ มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก มีผื่นตาแดง ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจลำบาก ร่วมกับ – 14 วันก่อนหน้า เคยใกล้ชิดกับผู้ป่วย – 14 วันก่อนหน้า เคยไปสถานที่…

งดให้บริการตรวจ COVID-19 ในวันที่ 24-25 เมษายน 2564

งดให้บริการตรวจ COVID-19 ในวันที่ 24-25 เมษายน 2564 เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการเเพร่กระจายเชื้อ COVID-19 แก่ผู้รับบริการ อีกทั้งจำนวนเจ้าหน้าที่และเตียงผู้ป่วยใน ที่ใช้ดูแลผู้ป่วย COVID -19 ยังมีจำกัด ทางโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน จึงของดให้บริการในวันที่ 24-25 เมษายน 2564 รพ. ขออภัยในความไม่สะดวกที่ต้อง “งด” การให้บริการตรวจ COVID-19 และ “งด” การตรวจผู้ป่วยคลินิกไข้ โดยจะให้บริการเฉพาะในกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินเท่านั้น *ผู้ป่วยที่มีอาการคงที่ และมีความจำเป็นต้องพบแพทย์แนะนำให้ใช้บริการพบแพทย์ทางไกล TeleMed (ตามลิงค์ด้านล่าง) และรับยาผ่านทางไปรษณีย์ ขอบคุณครับ ** ถ้าหากมีนัดเดิมแนะนำให้โทรติดต่อสอบถามการให้บริการตามเบอร์ในใบนัด TeleMed : https://tropmedhospital.net/…/telemedicine-main.html

ขอความร่วมมืองดเยี่ยมผู้ป่วยในช่วง COVID-19

ขอความร่วมมืองดเยี่ยมผู้ป่วยในช่วง COVID-19 ประกาศจากโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ด้วยสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ทางโรงพยาบาลขอความร่วมมือผู้รับบริการทุกท่าน ให้เยี่ยมทางโทรศัพท์ วิดีโอคอล หรือวิธีการอื่นๆแทนการเดินทางมายังโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงจากการรับเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบที่ค้นพบว่าก่อโรคในคนได้บ่อยๆประกอบด้วยไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี ดี และ อี โดยสาเหตุ นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าไปในตับโดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในการดำเนินโรค ในบทความ นี้จะว่ากันไป ตามลำดับตัวอักษร ไวรัสตับอักเสบ เอ ว่ากันว่าเชื้อตัวนี้เป็นไวรัสดั่งเดิมที่มีการกล่าวไว้ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ มีการบรรยายไว้ถึงการระบาดโดยเกิดดีซ่าน กันทั้งเมือง ไวรัส เอ นี้การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่ายทางการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หลังจากที่เชื้อโรคผ่าน กระเพาะ ไปยังลำไส้ในเบื้องต้นเชื้อจะฝังตัวอยู่ในลำไส้หลังจากนั้นก็จะกระจายเข้าสู่ตับอันเป็นที่อยู่ที่อุดมสมบูรณ์สำหรับ เชื้อตัวนี้ หลังจากรับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลันคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ดีซ่าน โดยในผู้ใหญ่จะมีอาการมากกว่าในเด็ก ในประเทศไทยในปัจจุบันการระบาดไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย การระบาดที่มีรายงาน ในช่วงหลังมักจะเกิดตามแหล่งที่มีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นเช่นบ้านเด็กอ่อน ค่ายทหาร รวมไปถึงล่าสุด มีการระบาดตามจังหวัดแนวตะเข็บชายแดน ไวรัสตับอักเสบเอเป็นไวรัสที่เป็นเฉียบพลัน หายแล้วหายขาดในคนที่มีภูมิคุ้มกันแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก ปัญหาในปัจจุบันพบน้อยลงตามลำดับจากสาธารณสุขที่ดี ขึ้นของ ประเทศ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีวัคซีนป้องกันได้อีกด้วย ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้านใน AEC ทั้งหมดอีกด้วย ประชากรไทยในปัจจุบันถึง ประมาณ ร้อยละ 3…

Norepinephrine

ข้อมูลยา Norepinephrine (4 mg/4 ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาภาวะความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน ค่าที่เฝ้าติดตามBP, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาติดตาม BP ทุก 5-10 นาที ตั้งแต่เริ่มให้ยาจนถึง target BP/MAP หลังจากนั้นทุก 1 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังหัวใจเต้นช้า, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ปวดศีรษะ, Extravasation ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ Extravasation

Regular insulin (RI)

ข้อมูลยา Regular insulin (10 ml) Injection (IV route) ข้อบ่งใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด ค่าที่เฝ้าติดตามระดับน้ำตาลในเลือด, HR, อาการ hypoglycaemia ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาระดับน้ำตาลในเลือด, HR, อาการ hypoglycaemia ภายใน 60 นาทีหลังให้ยา อาการที่ควรระวังHypoglycemia: ใจสั่น, เหงื่อออกมาก, หน้ามืด, เป็นลม Blood glucose: ผู้ใหญ่: <70 mg/dL และ เด็ก: <60 mg/dL ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการใจสั่น เหงื่อออกมาก หน้ามืด เป็นลม

Potassium Chloride

ข้อมูลยา Potassium Chloride (20 mEq/10 ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ  ค่าที่เฝ้าติดตามระดับโพแทสเซียมในเลือด, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาระดับโพแทสเซียมก่อนให้ยา, HR หลังฉีดทันที, 10 นาที และ 2 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังใจสั่น, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, extravasation ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง