บัตรคำสื่อสัมพันธ์ หน่วยบริบาลผู้สูงอายุ

กลับสู่หน้าแรกหน่วยบริบาลผู้สูงอายุ TropMed Homecare บัตรคำพูดหมวดการพยาบาล TropMed Homecare บัตรคำพูดหมวดประจำวัน TropMed Homecare บัตรคำพูดหมวดทั่วไป Homecare-บัตรคำสื่อสัมพันธ์

ฝังเข็มคือ?

Acupunctureฝังเข็มคือ? ฝังเข็ม เป็นการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเวชศาสตร์แผนจีน วิธีการรักษาแบบฝังเข็มเป็นการใช้เข็มแทงลงไปในร่างกาย กระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บและมีการตอบสนองต่อการกระตุ้นนั้น ให้เกิดการซ่อมแซมหรือรักษาในส่วนที่ขาดหายไป หรือส่วนที่เกินก็จะถูกระบายออก โดยจะหลีกเลี่ยงการใช้ยาในการรักษาแบบทางเลือกนี้ ฝังเข็มเจ็บมั้ย ก็จะเจ็บนิดนึง เนื่องจากเป็นการแทงเข็มลงไปในร่างกาย และใช้ความเจ็บในการกระตุ้นกระแสประสาท ทำให้เส้นเลือดขยาย การไหลเวียนของเลือดเยอะขึ้น เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือด รวมไปถึงสารหลั่งต่างๆ ก็จะช่วยซ่อมแซมในส่วนต่างๆได้ดีขึ้น การฝังเข็มรักษาอะไรบ้าง 1. คนไข้ส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการปวด เช่น ปวดหัว ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดขา หรือเข่าเสื่อม เป็นต้น จะฝังเข็มประมาณ 4-5ครั้งอาการก็จะดีขึ้น บางรายอาจจะฝังเข็มถึง 10 ครั้งแล้วค่อยหยุดพักได้ สำหรับรายที่เป็นแค่กล้ามเนื้ออักเสบธรรมดา สามารถฝังเข็ม 1-2 ครั้ง และกระตุ้นด้วยไฟฟ้า คนไข้ก็จะดีขึ้น หลังจากนั้นหากมีอาการก็สามารถมาทำซ้ำได้ 2. ปรับสภาพร่างกาย คนไข้ที่มีจะมีอาการ เช่น ภูมิแพ้ หูดับ การปรับประจำเดือน ใช้เวลาประมาณ 10 ครั้ง โดยจะมาอาทิตย์ละ 1-2 ครั้ง ก็จะกลับมากระตุ้น…

งาน Mahidol Quality Fair ปี 2563

กลับสู่หน้าแรกหน่วยพัฒนาคุณภาพ งาน Mahidol Quality Fair ประจำปี 2563 Agile Organization : รู้ทัน ก้าวไว รวมใจสู่ Agile Organization 24 พฤศจิกายน 2563 ภายในงานพบกับ การเสวนา เรื่อง “องค์กรยุคใหม่ Agile Organization, the journey of change” การบรรยาย หัวข้อ “Agile Organization” การนำเสนอผลงาน Team Good Practice Award / Innovative Teaching Award การนำเสนอผลงาน Public Policy Advocacy Award / Digital Outcome-base Education การนำเสนอ Oral Presentation / Story…

Pethidine

ข้อมูลยา Pethidine (50 mg/ml) Injection ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการปวด ค่าที่เฝ้าติดตามPain Score, BP, RR, HR ก่อนและหลังให้ยา ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาIV Push หลังฉีดทันทีและทุก 5 นาที รวม 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที รวม 2 ครั้ง IM หลังฉีดทันทีและทุก 15 นาที รวม 4 ครั้ง จากนั้นทุก 30 นาที รวม 2 ครั้ง อาการที่ควรระวังความดันต่ำ, กดการหายใจ กล้ามเนื้อสั่น, N&V ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการความดันต่า (BP<90/60), HR<60 ครั้ง/นาที, กดการหายใจ (RR<12), กล้ามเนื้อสั่น, ชัก

Winter is coming – อาการไม่สบายที่ต้องไปพบแพทย์

Winter is comingอาการไม่สบายที่ต้องไปพบแพทย์ ❄️❄️❄️ถึงแม้จะไม่หนาวขนาดหิมะตก แต่ในหลายๆพื้นที่ก็ค่อนข้างมีอากาศหนาวเย็นอยู่พอสมควร และแน่นอนครับเมื่ออากาศหนาวจัดหลายท่านอาจจะไม่สบาย หรือมีอาการต่างๆที่สงสัยว่าจะไม่สบาย แต่ก็ยังลังเลและไม่แน่ใจว่าควรไปพบแพทย์ดีไหม ซึ่งวันนี้จะมาเน้นย้ำกันสั้นๆว่าหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีเลยนะครับ – มีน้ำมูก อาการนำของหลายสาเหตุ เช่น อาการภูมิแพ้บางอย่าง หรืออาจจะเป็นการติดเชื้อไวรัส ถ้าหากติดเชื้อไวรัสหรือเป็นหวัด น้ำมูกอาจจะข้นและมีน้ำมูกมากขึ้น รวมทั้งมีอาการอื่น ๆร่วมด้วย เช่น มีไข้ เจ็บคอ มีเสมหะ เป็นต้น ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบไปพบแพทย์อย่างด่วนเลยนะครับ – ไอ, จาม, เจ็บคอ มีเสมหะ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดธรรมดา หรือโรคติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ อาการเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานของอาการไข้ ซึ่งมักจะเป็นอาการร่วมหากเป็นไข้หวัดธรรมดา ราว 4-5 วันอาการเหล่านี้จะดีขึ้น หากมีอาการหลายวันติดต่อกัน และหากไอ จามมีเลือดปนเสมหะออกมา ควรรีบไปพบแพทย์เลยนะครับ – มีไข้ อาการไข้มีหลายระดับ เอาเป็นว่าหากวัดอุณหภูมิร่างกายแล้วสูงกว่า 37.5 oc (วัดทางปาก) แสดงว่าท่านมีไข้แล้วล่ะครับ หากหลังจากพักผ่อนหลายวันแล้วยังคงมีไข้สูงต่อเนื่อง และมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไอ จาม…

High Alert Drug

High Alert Drug in Hospital for tropical disease Adrenergic agonists: Narrow Therapeutics Index: 1.Adrenaline (1mg/ml) Inj. 8. Digoxin (250mcg/ml) Inj. (Lanoxin®) 2.Dopamine (50mg/5ml) Inj. Narcotic: 3.Dobutamine (250mg/20ml) Inj. 9. Pethidine (50mg/ml) Inj. 4. Norepinephrine (4mg/4ml) Inj. 10. Morphine (10mg/ml) Inj. Antiarrhythmics: Insulins (100units/ml): 5.Cordarone (150 mg/3ml) Inj. 11. Humulin R (10ml) Inj. (IV route) High…

Morphine

ข้อมูลยา Morphine (10 mg/ml) Injection ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการปวด ค่าที่เฝ้าติดตามPain Score, BP, RR, HR ก่อนและหลังให้ยา ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาIV Push หลังฉีดทันทีและ 15 นาที IV Infusion หลังฉีดทันทีและทุก 1 ชั่วโมง  IM หลังฉีดทันทีและ 30 นาที อาการที่ควรระวังความดันต่ำ, กดการหายใจ กล้ามเนื้อสั่น, N&V ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการความดันต่ำ (BP <90/60), Pain Score ≥4, HR <60BPM, Sedation score ≥2, RR ≤12 ครั้ง/นาที

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)

โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) อาหารเป็นพิษ (food poisoning) อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดจากรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้องและท้องเสียถ่ายเหลวตามมา อาหารเป็นพิษสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยทั่วไปอาหารเป็นพิษเป็นภาวะไม่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่หากเกิดอาการรุนแรงก็อาจทำให้เกิดการสูญเสียสารน้ำและเกลือแร่ได้ สาเหตุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรคจำพวก S.aureus หรือ B. cereus หรือ C. perfringens ที่มีการปนเปื้อนในอาหาร อาทิเช่น ข้าวผัด ขนมจีน อาหารกระป๋อง เป็นต้น โดยเชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษ (enterotoxin) ที่ทนต่อความร้อนได้ดี เมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มี enterotoxin เข้าไปก็จะเกิดอาการของอาหารเป็นพิษตามมา อาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนนำมาก่อนและเด่นกว่าอาการท้องเสีย อาการคลื่นไส้มีได้ทั้งรุนแรงไม่มากจนถึงรุนแรงมากจนไม่สามารถทานอาหารได้ ส่วนใหญ่มักมีอาการหลังรับประทานอาหารที่สงสัยประมาณ 2-16 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็จะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียถ่ายเหลวเป็นน้ำตามมา นอกจากนี้ยังอาจพบผู้ที่รับประทานทานอาหารร่วมกับผู้ป่วยก็อาจจะมีอาการได้เช่นเดียวกันในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน วิธีการรักษา โดยปกติถ้าอาการของผู้ป่วยไม่รุนแรง สามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยรักษาตามอาการ (symptomatic treatment) เช่น ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน, ทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียนหรือยาแก้ปวดท้อง…