ทุกวันนี้เวลาที่เราไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล พยาบาลจะต้องซักประวัติก่อนว่าเราใช้ยาอะไรอยู่บ้าง พอได้เข้าตรวจกับคุณหมอ คุณหมอก็ตรวจสอบอีกครั้งว่าตอนนี้เราใช้ยาอะไรอยู่ พอไปรับยากับเภสัชกร เภสัชกรก็ถามอีก ถามกันไม่หยุดหย่อนเลย นอกจากนี้บางทีเราก็ต้องมีวันที่ไปร้านยา เภสัชกรก็ยังถามอีกว่าใช้ยาอะไรอยู่ แถมเภสัชกรก็ไม่ได้ถามคำถามเดียวซะด้วยสิ ถามเยอะแยะไปหมด เราที่ไปซื้อยาก็อยากจะทำธุระให้เสร็จเร็ว ๆ แต่ด้วยความหวังดีของเค้า เราก็ไม่กล้าที่จะปฏิเสธ ต้องยอมใช้เวลาอยู่ให้ข้อมูลกับเค้าก่อน
ถ้าเรายังต้องเจอเหตุการณ์เหล่านี้อยู่ เราควรจะเข้ามาทำความรู้จักกับแอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” ทันทีเลยครับ
เพราะแอปพลิเคชันนี้ มีอะไรให้เราได้ใช้นอกจากการทำให้เรามารพ.แล้วกลับบ้านได้ไวขึ้นอีกมากมายครับ
♦ ผู้ป่วยทั้งผู้ที่รับยาจากโรงพยาบาลและร้านยา ♦ ญาติผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป ♦ บุคลากรทางการแพทย์
ลองสังเกตดู จะเห็นว่า
แอปพลิเคชันนี้มีไว้เพื่อให้ทุกคนได้ใช้นั่นเอง
สิ่งที่แอปพลิเคชันนี้สามารถทำได้
- เข้าถึงและมีระบบการใช้งานที่ง่าย
- ดูข้อมูลยาที่สนใจได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้ยาอย่างปลอดภัย
- ดูข้อมูลรายการยาที่เราใช้ในปัจจุบันได้
(เฉพาะโรงพยาบาลที่ทำการเชื่อมโยงข้อมูลยาของโรงพยาบาลไว้กับแอปพลิเคชัน) - รายการยาที่เราใช้ในปัจจุบัน ถือเป็นข้อมูลส่วนตัว คนอื่นไม่สามารถดูได้
- ใช้ตรวจหาโรงพยาบาลรัฐ และร้านยาคุณภาพในบริเวณใกล้เคียง
- ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันแก่บุคลากรทางการแพทย์ได้
- ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินข้อมูลของผู้ป่วยได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ลดเวลาในการสื่อสาร คุยกับคุณหมอ เภสัชกร และพยาบาล เสร็จไวขึ้น กลับบ้านได้ไวขึ้น
- ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
เมนูแถบสีฟ้าทั้ง 4 เมนู คือฟังก์ชันเด่นของแอปพลิเคชัน
◊ ลงทะเบียน / เข้าสู่ระบบ ◊ สแกน QR code
◊ ข้อมูลส่วนตัว ◊ รายการยาของฉัน
ตัวอย่างข้อมูลที่นิยมใช้
ภาพแสดงตัวอย่างสรุปรายการยา
ภาพแสดงตัวอย่างการค้นหาข้อมูลยา
ตัวอย่างฉลากยา และหน้าจอแสดงผลเมื่อสแกน QR code
ตัวอย่างฉลากแสดงใบสรุปรายการยา และหน้าจอแสดงผลเมื่อสแกน QR code
ใครเป็นคนสร้างแอปพลิเคชันนี้ ไว้ใจได้ไหม มีไวรัสรึเปล่า
นำโดยเครือข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (UHosNet) และสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชื่อเดิม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)) ผู้ร่วมขับเคลื่อนการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use: RDU) และร่วมพัฒนาแอปพลิเคชัน ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข สำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เพียงเท่านี้ เวลาใครถามว่าเราใช้ยาอะไรอยู่ ก็เปิดแอปฯแล้วยื่นให้ดูแบบเก๋ ๆ ไปเลย นอกจากข้อมูลจะถูกต้องครบถ้วนแล้ว ใครจะมาว่าเราว่าตกเทรนด์ไม่ได้แล้วนะ
ส่วนเมนูอื่น ๆ เราจะมาเล่าในคราวหน้านะครับ ใครอดใจไม่ไหว ก็โหลดแอปฯแล้วไปลองเล่นดูก่อนได้เลย
RDU เทรนด์ 4.0 ง่าย ๆ แค่โหลดแอปฯ