โรคพยาธิใบไม้ปอด Lung flukes
โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส Paragonimus เข้าไปอาศัยอยู่ในปอด โรคนี้เกิดได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แมว สุนัข เป็นต้น
การติดต่อโรค
คนและสัตว์ติดต่อโรคได้โดยการกินปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิดที่ดิบๆ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ปอดอยู่ ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิจะไชทะลุผนังลำใส้เล็กส่วนต้นออกสู่ช่องท้องผ่านกระบังลมเข้าฝังตัวในปอด
เจริญเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในถุงหุ้ม และออกไข่สีเหลืองอมน้ำตาลจำนวนมาก ไข่จะออกมากับเสมหะและบางครั้งอาจพบตัวพยาธิในเสมหะด้วย ถ้าคนไข้กลืนเสมหะอาจพบไขพยาธิในอุจจาระ ไข่ที่ปนเปื้อนในน้ำจะเจรฺญเติบโตในหอยและปูตามลำดับ
รูปปูขน Eriocheir japonicus เป็นตัวนำโฮสท์ตัวกลางตัวที่สองของพยาธิ P. westermani ที่พบบ่อยที่ประเทศญี่ปุ่น จีนและเกาหลี พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อ (metacercaria) จะอยู่ในเหงือกของปู อยู่เรียงกันเป็นแถว
รูปกุ้ง Procambarus clarkii ตัวนำโฮสท์ตัวกลางตัวที่สองอีกชนิดหนึ่งของพยาธิ P. westermani
วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ปอด
แหล่งระบาด
พบโรคนี้ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยในบางท้องที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี พยาธิที่พบเป็นพยาธิชนิดพาราโกนิมัส เฮเทอโรทรีมัส (Paragonimus heterotremus)
สาเหตุและอาการ
เมื่อพยาธิอยู่ในปอดจะทำให้ปอดอักเสบ คนไข้มีอาการเจ็บหน้าอก ไอเรื้อรังบางครั้งมีเลือดปนออกมากับเสมหะ พยาธิอาจไชไปอยู่ที่อวัยวะอื่นได้ เช่น ตับ ลำใส้ กล้ามเนื้อ เยื่อบุช่องท้อง และสมอง ทำให้เกิดอาการผิดปกติของอวัยวะเหล่านั้น
รูปเสมหะของผู้ป่วยเป็นโรคพยาธิใบไม้ปอดสีสนิมเหล็ก
ลักษณะพยาธิ
รูปพยาธิ Paragonimus heterotremus เป็นพยาธิใบไม้ปอดอีกชนิดหนึ่งที่พบในคนไทย เมื่อพยาธิยังไม่ตายมีสีชมพูขนาดยาว 11-14 มม. กว้าง 6-8 มม. รังไข่เป้นแขนง อัณฑะ มี 2 อันขนาดใหญ่อยู่ส่วนท้ายลำตัว
รูปพยาธิ P. heterptremus ได้จากผู้ป่วยที่เข้ารักษาที่โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปไข่ P. heterotremus รูปไข่สีเหลืองทองขนาด 77-80 * 40-50 ไมครอนเปลือก ไข่หนาและมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด
รูปพยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อ (metacercaria) ของ P. heterotremus มีลักษณะเป็นรูปไข่ มีเปลือกสองชั้น ๆ นอกบางส่วนอื่นๆ ภายในมีตัวอ่อนระยะติดต่ออยู่
การวินิจฉัย
– จากการไอเรื้อรัง และมีประวัติการกินปูหรือกุ้งน้ำจืดดิบๆ
– ตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อหาไข่พยาธิในเสมหะ อุจจาระ หรือน้ำจากช่องปอดของคนไข้
การรักษา
ยาที่ใช้รักษาได้แก่ พราซิควอนเทล นิโคลโฟแลน และไบไธโอนิล ยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก ดังนั้น การรักษาจึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
การป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการกินปูหรือกุ้งที่ไม่ได้ปรุงสุกด้วยความร้อน
– ไม่ให้อาหารจำพวกปูหรือกุ้งดิบๆ แก่สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมว เพระจะทำให้สัตว์เลี้ยงนั้นเป็นแหล่งแพร่โรคได้
– ไม่บ้วนเสมหะ หรือถ่ายอุจจาระลงแหล่งน้ำ เพื่อป้องกันการกระจายโรค