วันหยุดประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ของงานกายภาพบำบัด

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ขอแจ้งวันหยุดให้บริการทางกายภาพบำบัด ประจำเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 ดังนี้ วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เนื่องใน​วันหยุดชดเชย วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี และวันวิสาขบูชา ผู้ป่วยสามารถเลื่อนนัดทางโทรศัพท์ได้ที่ 02-3069171 (ในวันและเวลาทำการ)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น ”โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้” เดิมทีโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อันที่จริงไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้ที่ต้องมีการเตือนประชาชนให้ดูแลป้องกันตนเองเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วในหลายประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น การติดต่อ>>> คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ อาการ>>> เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง…

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน ช้าก่อน! อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่าถ้าน้องลิงกัดคนแล้วจะเป็นมาลาเรีย แท้จริงแล้วมาลาเรียโนวไซ >>> เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium knowlesi ซึ่งเชื้อนี้มีอยู่ในลิง แต่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคในคนได้ เป็นไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน “ผ่านยุงก้นปล่องที่ไปกัดลิงที่มีเชื้อ แล้วมากัดคน” ซึ่งมาลาเรียชนิดโนวไซสามารถแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วกว่าเชื้อมาลาเรียชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 31 มี.ค. 2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิด “โนวไซ” แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด – ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะสงสัยว่า อ่าว! แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น มาลาเรียชนิดโนวไซ? >>> คำตอบคือ ท่านจะยังไม่ทราบครับ อาการจะเหมือนอาการไข้มาลาเรียนั่นแหละครับ และอาการของโรคจะคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยอีกหลายโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดใหญ่ (ซึ่งมีการรักษาแตกต่างกัน) ดังนั้น “หากท่านมีประวัติกลับออกจากป่า หรือพื้นที่อยู่อาศัยของลิงที่เป็นโรค แล้วมีอาการไข้สูง…

โรคมือลอก (Hand Eczema)

โรคมือลอก (Hand Eczema) การล้างมือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำอยู่แล้ว แต่ถ้าเราล้างบ่อยเกินไป ยิ่งโดนสบู่บ่อยก็ยิ่งทำให้ผิวหนังเรา อ่อนแอมากขึ้นหรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ ถ้าเราล้างบ่อยเกินไปก็จะเกิดโรคผิวหนังอักเสบที่มือตามมาได้ หากปล่อยไว้นาน ยิ่งเป็นแผลเป็น มาก ๆ บางทีอาจลามไปทั้งมือ และถ้ามีแบคทีเรียเข้าไปติดเชื้อซ้ำซ้อน ก็จะเป็นตุ่มหนองมีอาการบวมแดงอักเสบตามมาได้ โรคผิวหนังอักเสบ สามารถเป็นได้ทั่วตัว แต่ว่าโรคผิวหนังอักเสบที่มือ หรือโรค Hand Eczema จะเจอในคนที่ล้างมือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็คือ กลุ่มคนที่ล้างมือบ่อย ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย แม่บ้าน คนที่เลี้ยงเด็ก หรือว่าช่างซ่อมเครื่องต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะเจอในคนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของ COVID – 19 เช่นนี้ ทั้งนี้คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าคนปกติ ก็คือคนที่เป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก หรือว่าคนที่เป็นโรค Atopic Dermatitis ก็อาจจะมีอาการแพ้ง่ายเช่นกัน สาเหตุของโรค Hand Eczema เกิดได้จากอาการแพ้หรืออาการระคายเคือง โดยอาการแพ้กับระคายเคืองสามารถเกิดต่อสารใด ๆ ก็ได้…

โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์) ขั้นตอนการเข้าร่วมอบรม แบบทดสอบความรู้หลังการอบรม หัวข้อที่ 1 : การแยกประเภทขยะ โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 2 : ขั้นตอนการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ตามแนวปฏิบัติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน  โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 3 : การใช้เครื่อง Super Smart Scale  โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 4 : เชื้อโรครอบตัว  โดย หน่วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หัวข้อที่ 5 : การเก็บขยะติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ  โดย หน่วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หัวข้อที่ 6 : การล้างมือให้สะอาด 7 ขั้นตอน  หัวข้อที่ 7 : การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน   หัวข้อที่ 8 : การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ/พบเห็นอุบัติเหตุในที่ทำงาน …

การจัดการมูลฝอย (Waste Management)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการมูลฝอย (Waste Management) โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์) การจัดการมูลฝอย

การยศาสตร์ (Ergonomics)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การยศาสตร์ (Ergonomics) 10 ท่าง่ายๆ หายออฟฟิศซินโดรม การยศาสตร์