โซเดียม ทำให้ตัวบวม?

โซเดียม ทำให้ตัวบวม? วันนี้เราจะมาถาม-ตอบ กันในเรื่อง “โซเดียมทำให้ตัวบวม?” คำถามง่ายๆที่หลายๆท่าน และแอดมินเองก็แอบสงสัย ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยครับ! Q: โซเดียมมาจากอะไร ทำไมขนม หรืออาหารถึงมีโซเดียม? A: โซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ ทั้งนี้ในอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และอาหารประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ มักมีโซเดียมน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนม Q: โซเดียมมีรสชาติมั้ย? A: เป็นคำถามที่อาจจะฟังดูประหลาด แต่มีหลายคนคงอยากจะรู้(รึป่าวไม่แน่ใจ) อันที่จริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุ โดยมากจะอยู่ในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น เกลือ เกลือแกง กะปิ น้ำปลา อาหารหมักดอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ…

มาตรฐานโรงพยาบาลและเอกสารดาวน์โหลด HA

กลับสู่หน้าแรกหน่วยพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานโรงพยาบาลและเอกสารดาวน์โหลด HA หนังสือเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4 HA Update 2022 HA Update 2020 HA Update 2019 HA Update 2018 HA Update 2017 HA Update 2016 เอกสารโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน แผนยุทธศาสตร์โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ปี 2561-2565 แนวทางการรายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน  โปสเตอร์ ระดับความเสี่ยงทางคลินิก โปสเตอร์ 2P Safety เข็มมุ่งการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ปีงบประมาณ 2563-2564 เข็มมุ่งการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ปีงบประมาณ 2565 แบบฟอร์ม CQI โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน เครื่องมือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ THIP Benchmark KPI Dictionary 2023 THIP Benchmark…

ข่าวประชาสัมพันธ์ HA

กลับสู่หน้าแรกหน่วยพัฒนาคุณภาพ ข่าวประชาสัมพันธ์ ปีงบประมาณ 2567 งานมหกรรมคุณภาพทุ่งพญาไท ครั้งที่ 10 : 14-15 ธันวาคม 2566 Click งาน Mahidol Quality Fair ประจำปี 2566 : 28 พฤศจิกายน 2566 Click โครงการถ่ายทอดความรู้ Smart Knowledge Management HA (KM.HA) ประจำปี 2567 Click ปีงบประมาณ 2566 งาน TropMed Quality Fair ครั้งที่ 3 : 5 กรกฎาคม 2566 Click การประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 23 : 15-17 มีนาคม 2566…

เรื่องวุ่นๆ ของการตรวจ ATK

เรื่องวุ่นๆ ของการตรวจ ATK Q : ทำไมหน้าตาชุดตรวจแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน? A: ประเด็นก็คือว่า ชุดตรวจ ATK แต่ละยี่ห้อจะมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ แต่ปลายทางก็เพื่อตรวจหาโควิดเหมือนกัน ที่เราเห็นส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์คือ 1.ก้าน SWAP 2.น้ำยา 3.หลอด 4.แผ่นแสดงผล ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเมื่อเรามีชุด ATK ที่ไม่เหมือนเดิมคือการอ่านรายละเอียดการใช้งาน และทำตามคำแนะนำตามเอกสารกำกับชุดตรวจอย่างเคร่งครัด หรือบางยี่ห้ออาจจะมี QR Code ให้สแกนเพื่อดูวิดีโอสาธิตวิธีการทำอย่างละเอียดให้มาด้วย Q : ขีดไม่ขึ้น? A : ถ้าหากมีขั้นตอนใดที่พลาดไป ชุดตรวจอาจไม่แสดงผล หรือแสดงผลไม่แม่นยำ” หากไม่มีขีดขึ้นเลย หรือมีขีดขึ้นแค่ตัว T แปลว่าผลตรวจใช้ไม่ได้ ควรตรวจหาเชื้อ โดยใช้ชุดตรวจใหม่อีกครั้ง Q : ต้องรอผลกี่นาที? A : โดยปรกติให้รอผลราว 10-15 นาที (ให้อ่านตามคู่มือที่แนบมาครับ) Q: ชุดตรวจที่ใช้แล้ว ควรทิ้งอย่างไร? A :…

10 ข้อปฏิบัติ Home Isolation เมื่อติด COVID-19

10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19  10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19 งดออกจากที่พัก และห้ามผู้อื่นมาเยี่ยม แยกของใช้ส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องพักด้วย แยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว และทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสอยู่เสมอ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และกำหนดจุดในการรับอาหารและสิ่งของอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร แยกห้องน้ำใช้ หากมีห้องเดียวให้เข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังใช้งาน ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ แยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป โดยให้ใส่ถุงสองชั้นและมัดปากถุงขยะให้แน่น หมั่นสังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นประจำ หากมีอาการ หอบ เหนื่อย มีไข้สูงติดต่อกัน ให้รีบติดต่อไปยังรพ. ที่ทำการรักษาทันที *ในระหว่างกักตัวแนะนำให้บุคคลอื่นในครอบครัวที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว   Home Isolation

คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต)

คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต) คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต) สำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยสามารถรับรองได้เฉพาะวัคซีนที่ฉีดในประเทศไทยเท่านั้น โดยท่านสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียน 1). กรอกข้อมูล Online ให้ครบถ้วน ตามลิงค์ https://www.thaitravelclinic.com/…/covid-vaccine… โดยแนบไฟล์รูปภาพ ดังนี้ 1.1 พาสปอร์ตตัวจริงที่เหลืออายุการใช้งานมากกว่า 6 เดือน 1.2 หลักฐานการได้รับวัคซีนในประเทศไทย – จากสถานพยาบาลที่ท่านได้รับวัคซีน โดยต้องมีตราประทับ – จาก APP. “หมอพร้อม” พร้อมกับ QR CODE 2). เมื่อกรอกข้อมูลเรียนร้อยแล้ว ท่านจะได้รับการยืนยันผ่านทาง E-Mail ท่านสามารถมารับตามวันและเวลาที่เลือกในระบบ (โดยจะอยู่ถัดจากวันลงทะเบียนไปอย่างน้อย 3 วันทำการ) ขั้นตอนที่ 2 เตรียมมารับเอกสาร 1). นำพาสปอร์ตตัวจริง และสำเนาพาสปอร์ตพร้อมลงนามมาด้วย 2). ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสาร 3).…

เช็ควัน และเวลามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 ที่นี่!

เช็ควัน และเวลามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 ที่นี่! ท่านที่รับวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 จากรพ.เวชศาสตร์เขตร้อน ในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายนและ ธันวาคม 2564 ขอให้ท่านเข้ามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 (บูสเตอร์) ตามวัน และเวลาในภาพได้เลยนะครับ หมายเหตุ – เฉพาะผู้ที่รับเข็มที่ 2 จากรพ.เวชศาสตร์เขตร้อนเท่านั้น – ต้องเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับเข็ม 3 มาจากที่อื่น – ไม่สามารถเลื่อนวันได้ – สามารถตรวจสอบวันที่ได้รับเข็มที่ 2 ได้ใน App และ Line@ “หมอพร้อม” **สำหรับอาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่รับวัคซีนที่มหาวิทยาลัย รพ.จะประสานกับมหาวิทยาลัยเพื่อนัดหมายวันเข้าไปฉีดให้ต่อไป ขอให้ติดตามข่าวจากทางมหาวิทยาลัย

การขอใบรับรองแพทย์ COVID19 ก่อนการเดินทาง/ใช้ขอวีซ่า

การขอใบรับรองแพทย์ COVID19 ก่อนการเดินทาง/ใช้ขอวีซ่า คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยว และการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (วันที่ 4/1/2022) ท่านที่ต้องการตรวจ COVID-19 และขอใบรับรองแพทย์ก่อนการเดินทาง ต้องทำการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในเรื่องความจำเป็นในการเดินทาง และศึกษาข้อกำหนดของประเทศปลายทางให้ละเอียด เพื่อความสะดวกต้องทำการหมายก่อนเข้ารับบริการนะครับ สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมตัวและนัดหมายได้ที่ : https://www.thaitravelclinic.com/…/covid19-med…