โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น ”โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้” เดิมทีโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อันที่จริงไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้ที่ต้องมีการเตือนประชาชนให้ดูแลป้องกันตนเองเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วในหลายประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น การติดต่อ>>> คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ อาการ>>> เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง…

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน ช้าก่อน! อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่าถ้าน้องลิงกัดคนแล้วจะเป็นมาลาเรีย แท้จริงแล้วมาลาเรียโนวไซ >>> เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium knowlesi ซึ่งเชื้อนี้มีอยู่ในลิง แต่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคในคนได้ เป็นไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน “ผ่านยุงก้นปล่องที่ไปกัดลิงที่มีเชื้อ แล้วมากัดคน” ซึ่งมาลาเรียชนิดโนวไซสามารถแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วกว่าเชื้อมาลาเรียชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 31 มี.ค. 2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิด “โนวไซ” แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด – ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะสงสัยว่า อ่าว! แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น มาลาเรียชนิดโนวไซ? >>> คำตอบคือ ท่านจะยังไม่ทราบครับ อาการจะเหมือนอาการไข้มาลาเรียนั่นแหละครับ และอาการของโรคจะคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยอีกหลายโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดใหญ่ (ซึ่งมีการรักษาแตกต่างกัน) ดังนั้น “หากท่านมีประวัติกลับออกจากป่า หรือพื้นที่อยู่อาศัยของลิงที่เป็นโรค แล้วมีอาการไข้สูง…

โรคมือลอก (Hand Eczema)

โรคมือลอก (Hand Eczema) การล้างมือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำอยู่แล้ว แต่ถ้าเราล้างบ่อยเกินไป ยิ่งโดนสบู่บ่อยก็ยิ่งทำให้ผิวหนังเรา อ่อนแอมากขึ้นหรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ ถ้าเราล้างบ่อยเกินไปก็จะเกิดโรคผิวหนังอักเสบที่มือตามมาได้ หากปล่อยไว้นาน ยิ่งเป็นแผลเป็น มาก ๆ บางทีอาจลามไปทั้งมือ และถ้ามีแบคทีเรียเข้าไปติดเชื้อซ้ำซ้อน ก็จะเป็นตุ่มหนองมีอาการบวมแดงอักเสบตามมาได้ โรคผิวหนังอักเสบ สามารถเป็นได้ทั่วตัว แต่ว่าโรคผิวหนังอักเสบที่มือ หรือโรค Hand Eczema จะเจอในคนที่ล้างมือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็คือ กลุ่มคนที่ล้างมือบ่อย ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย แม่บ้าน คนที่เลี้ยงเด็ก หรือว่าช่างซ่อมเครื่องต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะเจอในคนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของ COVID – 19 เช่นนี้ ทั้งนี้คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าคนปกติ ก็คือคนที่เป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก หรือว่าคนที่เป็นโรค Atopic Dermatitis ก็อาจจะมีอาการแพ้ง่ายเช่นกัน สาเหตุของโรค Hand Eczema เกิดได้จากอาการแพ้หรืออาการระคายเคือง โดยอาการแพ้กับระคายเคืองสามารถเกิดต่อสารใด ๆ ก็ได้…

โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์) ขั้นตอนการเข้าร่วมอบรม แบบทดสอบความรู้หลังการอบรม หัวข้อที่ 1 : การแยกประเภทขยะ โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 2 : ขั้นตอนการทิ้งขยะอย่างถูกวิธี ตามแนวปฏิบัติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน  โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 3 : การใช้เครื่อง Super Smart Scale  โดย หน่วยพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล หัวข้อที่ 4 : เชื้อโรครอบตัว  โดย หน่วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หัวข้อที่ 5 : การเก็บขยะติดเชื้อในห้องปฏิบัติการ  โดย หน่วยความปลอดภัยทางชีวภาพ หัวข้อที่ 6 : การล้างมือให้สะอาด 7 ขั้นตอน  หัวข้อที่ 7 : การใช้สารเคมีในชีวิตประจำวัน   หัวข้อที่ 8 : การปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอุบัติเหตุ/พบเห็นอุบัติเหตุในที่ทำงาน …

การจัดการมูลฝอย (Waste Management)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การจัดการมูลฝอย (Waste Management) โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับพนักงานสถานที่ (ออนไลน์) การจัดการมูลฝอย

การยศาสตร์ (Ergonomics)

กลับสู่หน้าแรกงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การยศาสตร์ (Ergonomics) 10 ท่าง่ายๆ หายออฟฟิศซินโดรม การยศาสตร์

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าหากวินิจฉัยช้าหรือรักษาได้ไม่ทัน ถึงขั้นเสียชีวิตได้!!! สาเหตุ: ในชีวิตประจำวันของเรายากที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ พอโดนแดดนานๆ อาจเกิดโรคลมแดดขึ้นซึ่งมีที่มาจากความร้อน 2 แหล่งคือ 1. ความร้อนจากภายนอก เช่น แสงแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง 2. ความร้อนจากภายใน คือ ความร้อนภายในร่างกาย ที่เกิดจากการเผาผลาญจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปรกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่ายกายจะปรับตัวมีการสูบฉีดโลหิต และหัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่นค้าง ทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติไปจนทำให้เกิดไตวาย ความแตกต่างระหว่างโรคลมแดด และเป็นลม คนที่เป็นโรคลมแดดตัวจะแห้ง เนื่องจากเหงื่อออกไปเยอะจนไม่มีจะออกแล้ว และตัวจะร้อนมากอุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงมาก อาจสูงขึ้นมากกว่า…

งานกายภาพบำบัด ได้รับประกาศนียบัตรเนื่องด้วยไม่มีบุคลากรในหน่วยงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)

วันที่ 20 เมษายน 2565 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วัชรพงศ์ ปิยะภาณี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มอบประกาศนียบัตรแก่งานกายภาพบำบัด เนื่องจากไม่มีบุคลากรในหน่วยงานติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งแต่เริ่มการระบาดครั้งแรกในประเทศไทย จนถึง 5 เมษายน 2565 รวม 814 วัน พร้อมทั้งได้รับชุดตรวจ ATK จำนวน 28 ชุด เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานแก่นักกายภาพบำบัด ได้ให้การรักษาทางกายภาพบำบัดอย่างปลอดภัยทั้งบุคลากรและผู้มารับบริการต่อไป

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ หน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีทั้งCOVID-19 โรคต่างๆ และมลพิษทางอากาศก็ยังไม่เว้น วันนี้แอดมินจะมาแนะนำหน้ากากชนิดต่างๆ ที่ทุกท่านน่าจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปลุยกันเลยครับ 1. หน้ากากอนามัยชนิด N95 หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆได้(หากใส่ถูกวิธี) โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป เพราะลักษณะของหน้ากากอนามัย N95 นี้มีลักษณะครอบลงไปที่บริเวณหน้าปาก และจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสหรือสารปนเปื้อนไม่สามารถลอดผ่านได้ และ แน่นอนสามารถป้องกันอนุภาคขนาดเล็กอย่าง PM2. ที่เมืองไทยเผชิญอยู่ในขณะได้ในระดับดีมากอีกด้วย Note : หากใส่เป็นเวลานานจะทำให้หายใจลำบาก อาจจะไม่เหมาะในการใส่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งของที่มีคุณภาพ อาจมีราคาสูงอีกด้วย 2. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แม้จะมีขายตามท้องตลาดทั่วไป หน้าตาคล้ายๆกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่ากัน ถ้าสามารถเลือกซื้อที่มีคุณภาพได้ ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น หน้ากากทางการแพทย์ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี และสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ สําหรับวิธีการใส่ควรใส่โดยการนําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสาร คัดหลั่งจากคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับปานกลางถึงดี แต่หากใส่ 2 ชั้นซ้อนกันก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย Note : ควรใส่ให้ถูกต้องโดยให้ฝั่งด้านบนที่มีลวดแข็งอยู่ที่สันจมูก และด้านล่างให้ดึงลงมาครอบปลายคางตลอดเวลา แนะนำเลือกใช้ที่มีคุณภาพ และใช้แล้วทิ้งไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ 3.…

ไข้เลือดออก 2022

ไข้เลือดออก 2022 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกว่า 50,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 60 ราย (ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 – 2564) ถึงแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่ดูสูงมาก แต่โรคไข้เลือดออกก็ยังคงเป็นโรคที่ต้องระมัดระวังคนในครอบครัวอยู่ในทุกๆปี แต่ช้าก่อน! วันนี้แอดมินจะไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของไข้เลือดออก แต่จะเป็นการแนะนำหากท่านมีอาการที่เข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ในช่วงโควิด ปี 2022 นี้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? 1. เช็คอาการก่อนว่ามีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนัง หรือไม่ 2. ทำการตรวจ ATK ซึ่งเป็นพื้นฐานในช่วงนี้อยู่แล้ว หากผลเป็นลบให้สังเกตอาการที่อาจจะรุนแรงของไข้เลือดออก เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องมาก หน้ามืด เป็นลม สับสน ตัวเย็น เป็นต้น (หากผลเป็นบวกให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของ COVID – 19 ต่อไป) 3. ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน ในขั้นตอนนี้ให้เช็ควัน…