Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดดHeat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด “ร้อนเกินไป อาจตายได้” Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าหากวินิจฉัยช้าหรือรักษาได้ไม่ทัน ถึงขั้นเสียชีวิตได้!!! สาเหตุ: ในชีวิตประจำวันของเรายากที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งโรคลมแดดอาจมีที่มาจากความร้อน 2 แหล่งคือ 1. ความร้อนจากภายนอก เช่น แสงแดด ที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในห้องที่อับๆ อากาศไม่ถ่ายเท มีความร้อนสูง หรือในรถ เป็นต้น 2. ความร้อนจากภายใน คือ ความร้อนภายในร่างกาย ที่เกิดจากการเผาผลาญจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปรกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่างกายจะปรับตัวมีการสูบฉีดโลหิต และหัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่งค้าง…

“สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี” (Radiation Warning Symbol)

“สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี” (Radiation Warning Symbol) ในชีวิตประจำวันน้อยครั้งมากที่เราจะได้เห็นสัญลักษณ์เตือนแปลกๆ หรือบางทีอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเราได้สัมผัสหรือเข้าใกล้อะไรมาแล้วบ้าง แต่ถ้าบังเอิญว่าเราไปพบเจอ หรือสัมผัสวัตถุที่ต้องสงสัยที่มี “สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี” (Radiation Warning Symbol) ให้ปฏิบัติง่ายๆตามนี้นะครับ ก่อนอื่นเรามาดูคร่าวๆว่าอันตรายจากการสัมผัสสารกัมมันตรังสี เป็นอย่างไรบ้าง? อาการที่พบคือ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ผิวหนังบริเวณที่โดนรังสี จะเกิดแผลไหม้พุพอง ในกรณีสัมผัสปริมาณมาก ส่งผลกระทบต่อระบบเลือด กดไขกระดูก ระบบประสาท ชักเกร็ง และถึงขั้นอาจเสียชีวิตได้ และเมื่อท่านพบวัตถุต้องสงสัยที่มี “สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี” 1. แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หน่วยกู้ภัย ที่อยู่ใกล้เคียง “สายด่วนทางนิวเคลียร์และรังสี 1296 ตลอด 24 ชั่วโมง” แจ้งข้อมูลเบื้องต้นและรอเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและดำเนินการ 2. อยู่ห่างจากพื้นที่เสี่ยงเป็นระยะอย่างน้อย 30 เมตรห่างจากวัสดุต้องสงสัยและห้ามบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าในบริเวณ 3. หากมีการสัมผัสหรือเข้าใกล้บริเวณรังสี ให้แยกตัวเองอยู่ในพื้นที่ปิดและปลอดภัย ติดตามข้อมูลข่าวสารและปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอันตราย หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี โดยสังเกตได้จาก “สัญลักษณ์เตือนภัยจากรังสี”…