10 ข้อปฏิบัติ Home Isolation เมื่อติด COVID-19

10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19  10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19 งดออกจากที่พัก และห้ามผู้อื่นมาเยี่ยม แยกของใช้ส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องพักด้วย แยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว และทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสอยู่เสมอ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และกำหนดจุดในการรับอาหารและสิ่งของอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร แยกห้องน้ำใช้ หากมีห้องเดียวให้เข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังใช้งาน ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ แยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป โดยให้ใส่ถุงสองชั้นและมัดปากถุงขยะให้แน่น หมั่นสังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นประจำ หากมีอาการ หอบ เหนื่อย มีไข้สูงติดต่อกัน ให้รีบติดต่อไปยังรพ. ที่ทำการรักษาทันที *ในระหว่างกักตัวแนะนำให้บุคคลอื่นในครอบครัวที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว   Home Isolation

คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต)

คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต) คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ให้บริการออกหนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด19 (วัคซีนพาสปอร์ต) สำหรับทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยสามารถรับรองได้เฉพาะวัคซีนที่ฉีดในประเทศไทยเท่านั้น โดยท่านสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ลงทะเบียน 1). กรอกข้อมูล Online ให้ครบถ้วน ตามลิงค์ https://www.thaitravelclinic.com/…/covid-vaccine… โดยแนบไฟล์รูปภาพ ดังนี้ 1.1 พาสปอร์ตตัวจริงที่เหลืออายุการใช้งานมากกว่า 6 เดือน 1.2 หลักฐานการได้รับวัคซีนในประเทศไทย – จากสถานพยาบาลที่ท่านได้รับวัคซีน โดยต้องมีตราประทับ – จาก APP. “หมอพร้อม” พร้อมกับ QR CODE 2). เมื่อกรอกข้อมูลเรียนร้อยแล้ว ท่านจะได้รับการยืนยันผ่านทาง E-Mail ท่านสามารถมารับตามวันและเวลาที่เลือกในระบบ (โดยจะอยู่ถัดจากวันลงทะเบียนไปอย่างน้อย 3 วันทำการ) ขั้นตอนที่ 2 เตรียมมารับเอกสาร 1). นำพาสปอร์ตตัวจริง และสำเนาพาสปอร์ตพร้อมลงนามมาด้วย 2). ตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของเอกสาร 3).…

เช็ควัน และเวลามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 ที่นี่!

เช็ควัน และเวลามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 ที่นี่! ท่านที่รับวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 2 จากรพ.เวชศาสตร์เขตร้อน ในช่วงเดือนตุลาคม พฤศจิกายนและ ธันวาคม 2564 ขอให้ท่านเข้ามารับวัคซีน Pfizer เข็ม 3 (บูสเตอร์) ตามวัน และเวลาในภาพได้เลยนะครับ หมายเหตุ – เฉพาะผู้ที่รับเข็มที่ 2 จากรพ.เวชศาสตร์เขตร้อนเท่านั้น – ต้องเป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับเข็ม 3 มาจากที่อื่น – ไม่สามารถเลื่อนวันได้ – สามารถตรวจสอบวันที่ได้รับเข็มที่ 2 ได้ใน App และ Line@ “หมอพร้อม” **สำหรับอาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่รับวัคซีนที่มหาวิทยาลัย รพ.จะประสานกับมหาวิทยาลัยเพื่อนัดหมายวันเข้าไปฉีดให้ต่อไป ขอให้ติดตามข่าวจากทางมหาวิทยาลัย

การขอใบรับรองแพทย์ COVID19 ก่อนการเดินทาง/ใช้ขอวีซ่า

การขอใบรับรองแพทย์ COVID19 ก่อนการเดินทาง/ใช้ขอวีซ่า คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยว และการเดินทาง โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล (วันที่ 4/1/2022) ท่านที่ต้องการตรวจ COVID-19 และขอใบรับรองแพทย์ก่อนการเดินทาง ต้องทำการเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในเรื่องความจำเป็นในการเดินทาง และศึกษาข้อกำหนดของประเทศปลายทางให้ละเอียด เพื่อความสะดวกต้องทำการหมายก่อนเข้ารับบริการนะครับ สามารถอ่านรายละเอียดการเตรียมตัวและนัดหมายได้ที่ : https://www.thaitravelclinic.com/…/covid19-med…

“หิด” แค่ใกล้ชิด ก็ติดได้

“หิด” แค่ใกล้ชิด ก็ติดได้ อ.ดร.นพ. สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นหิดสามารถติดต่อไปยังคนใกล้ชิดได้ หรือบางท่านอาจยังไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าเป็นหิด แค่รู้สึกคัน มีผื่น แล้วเกาไป วันนี้รพ.เวชศาสตร์เขตร้อนจะมาแนะนำให้ท่านรู้จักกับโรคหิดแบบละเอียดและเข้าใจได้ง่ายกันครับ >> หิดคืออะไร หิด เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ขาปล้องประเภทไรชื่อ ซาร์คอบติส สเคบิอาย Sarcoptes scabiei (ลองดูรูปจาก Google ได้ครับ) ตัวหิดมี 8 ขา สีน้ำตาล มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นอาการของโรคหิดเกิดจากการที่หิดตัวเมียขุดหลุมเพื่อวางไข่ใต้ผิวหนังตัวอ่อนออกจากไข่หลังจากนั้น 2-3 วัน ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์จึงโตเต็มที่หลังผสมพันธุ์หิดตัวผู้ตายไปแต่หิดตัวเมียจะขุดหลุมใต้ผิวหนังเพื่อวางไข่ต่อไปเป็นวงจรชีวิตของหิดผู้ป่วยที่เป็นหิดจะมีหิดอยู่ประมาณ 5-15 ตัวในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ยกเว้นผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคเอดส์ อาจมีหิดเป็นล้านๆ ตัวอยู่บนผิวหนัง >> หิดแพร่กระจายอย่างไร หิดกระจายจากผู้หนึ่งไปอีกผู้หนึ่งทางการสัมผัสใกล้ชิด โดยมากอาการคันซึ่งเป็น ปฏิกิริยาของร่างกายต่อตัวหิดจะเกิดหลังมีตัวหิดประมาณ 1 เดือน แต่ถ้าผู้ป่วยเคยเป็นหิดมาก่อนอาการคันจะเกิดขึ้นเร็วภายในไม่กี่วัน เนื่องจากตัวหิดสามารถอยู่ใน สิ่งแวดล้อมได้ 2-3 วัน จึงมีโอกาสเล็กน้อยที่เราจะติดหิดจากการใช้เสื้อผ้าหรือของใช้ ร่วมกันหรือนอนเตียงเดียวกัน >>…

ลุยดินปลูกต้นไม้ ระวังพยาธิไชผิวหนัง

ลุยดินปลูกต้นไม้ ระวังพยาธิไชผิวหนัง อ.ดร.นพ. สัณฑ์ ม่วงน้อยเจริญ กระแสการปลูกต้นไม้ รักษ์ธรรมชาติกำลังมาแรง หลายๆท่านก็ได้ใช้เวลาว่างและได้สร้างรายได้ไปในเวลาเดียวกัน แต่การที่จะสัมผัสกับดินหรือต้องขลุกอยู่กับดินนานๆ ก็ต้องป้องกันให้ถูกต้องด้วยนะครับ ไม่งั้นพยาธิอาจจะไชเข้าไปในผิวหนังได้(แบบในรูป) วันนี้แอดมินเลยทำข้อมูลเป็นรูปแบบ Q&A สั้นๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายกันครับ ถาม: ไม่ต้องมีแผล แค่นั่งบนพื้นดินหรือเดินเท้าเปล่า พยาธิก็ไชเข้าได้เหรอครับ? ตอบ:ได้ครับพยาธิจำพวกปากขอจะสามารถไชเข้าไปทางผิวหนังได้ เวลาปลูกต้นไม้บางท่านอาจจะไม่ได้ใส่ถุงมือ หรืออาจจะนั่งบนพื้นดิน และถ้ายิ่งสัมผัสกับดินที่มีเชื้อนานๆ ก็มีสิทธิติดได้ง่ายครับ ถาม: ดินที่มีเชื้อ หมายความว่ายังไงนะครับ? ตอบ: ดินที่มีการปนเปื้อนของอึหมา อึแมวที่มีพยาธิ ดังนั้นหากเลี้ยงสุนัขหรือแมว ควรฝึกให้มันถ่ายเป็นที่ เป็นทางนะครับ ถาม: รอยเส้นยาวๆที่อยู่ใต้ผิวหนังนี่คือขนาดของพยาธิเหรอครับ? แล้วมันยาวขึ้นเรื่อยๆด้วย ตอบ: อันที่จริงรอยเส้นยาวๆ ไม่ใช่ขนาดที่แท้จริงของพยาธิครับ แต่เป็นรอยทางการเคลื่อนตัวของตัวอ่อนพยาธิปากขอ รอยที่ยาวขึ้น เป็นเพราะพยาธิเคลื่อนตัวไปเรื่อยๆครับ ถาม เห็นแบบนั้นแล้ว ต้องทำยังไงต่อครับ? ตอบ เบื้องต้นแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้ถูกต้อง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ต้องตกใจมากครับ พยาธิชนิดนี้เป็นพยาธิของสัตว์ ไม่สามารถเจริญเติบโตในร่างกายคนได้ ดังนั้นพยาธิจะไม่ไชลึกไปกว่าชั้นหนังกำพร้า และในเวลาไม่เกิน 1 เดือน พยาธิก็จะตายไปเอง…

เชื้อโรคที่มากับอาหารการกิน ในช่วงน้ำท่วมขัง

เชื้อโรคที่มากับอาหารการกิน ในช่วงน้ำท่วมขัง ช่วงนี้บางพื้นที่อาจจะประสบปัญหาน้ำท่วม จะเดินทาง หรือหาของมารับประทานก็คงจะยากลำบากน่าดู ทางรพ.ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วยนะครับ กลับเข้ามาที่เรื่องสาระความรู้ในวันนี้ บางพื้นที่มีน้ำท่วมขังการจะรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มอาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนมาด้วย โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนเลยขอนำ Q&A (ถาม-ตอบ) แบบที่ประชาชนทั่วไปน่าจะเข้าใจได้ง่ายมานำเสนอครับ โดยวันนี้ได้รับเกรียติจาก รศ.ดร.องอาจ มหิทธิกร หัวหน้าภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล  มาตอบคำถามต่างๆเกี่ยวกับเชื้อโรคที่อาจจะมากับอาหารการกินในช่วงน้ำท่วมขัง   ถาม : ก่อนอื่นอยากให้อธิบายคร่าวๆให้ประชาชนทั่วไปทราบว่า อะไรคือพยาธิโปรโตซัวครับ? ตอบ: โปรโตซัวเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า โดยทั่วไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ควบคุมจำนวนของแบคทีเรีย แต่มีโปรโตซัวบางชนิดจำเป็นต้องอาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่นและทำให้เกิดโรค จึงเรียกโปรโตซัวกลุ่มนี้ว่า “พยาธิโปรโตซัว” ครับ   ถาม: ช่วงนี้บางพื้นที่มีน้ำท่วมขัง มีเชื้อโรคชนิดใดบ้างที่ต้องระวังเป็นพิเศษ? ตอบ: ช่วงน้ำท่วมขังอาจมีความเสี่ยงต่อเชื้อโรคหลายชนิดเพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากวันนี้พูดถึงพยาธิโปรโตซัว ก็อยากให้ระวังควรระวังโปรโตซัวกลุ่มที่อาศัยอยู่ในลำไส้ พวกนี้จะออกมากับอุจจาระคนหรือสัตว์ ยกตัวอย่างที่เราเคยได้ยินชื่อมาบ้างก็คือ โรคบิดมีตัวครับ   ถาม: อาจจะติด หรือได้รับเชื้อโรคบิดมีตัวได้ยังไงบ้างครับ? ตอบ: โดยปกติระยะติดต่อที่ออกมากับอุจจาระคนที่ถ่ายนอกส้วมหรือมูลสัตว์ จะปนเปื้อนผักผลไม้หรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เรามักจะได้รับเชื้อจากการกินอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด แต่ในสถานการณ์น้ำท่วม น้ำอาจจะพัดพาเอาเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมมาใกล้ชิดเรามากขึ้น ซึ่งการที่มือเราสัมผัสน้ำแล้วไม่ล้างมือก่อนกินก็อาจเป็นช่องทางให้เชื้อเหล่านี้เข้าปากเราได้  …

เวชศาสตร์แผนไทย(นวด) *ผู้รับบริการจะต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ครบ 2 เข็มเท่านั้น*

เวชศาสตร์แผนไทย(นวด) *ผู้รับบริการจะต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ครบ 2 เข็มเท่านั้น* ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 เวชศาสตร์แผนไทย(นวด) จะเปิดให้บริการในวัน ให้บริการในวันจันทร์ – เสาร์ เวลา 07.00 – 19.00 น. (ปิดรับบัตรเวลา 17.30 น.)*ผู้รับบริการจะต้องฉีดวัคซีน COVID-19 ครบ 2 เข็มเท่านั้น* ผู้ป่วยใหม่ ต้องมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยประเมินก่อนนวดในวันจันทร์ – เสาร์ ในช่วงเวลา 9.00 – 11.30 น. มาตรการป้องกันการระบาด COVID-19 ของเวชศาสตร์แผนไทย – ผู้รับบริการจะต้องใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา – มีการจัดพื้นที่ห่างระหว่างบุคคลมากกว่า 1.5 เมตร – มีแอลกอฮอล์เจลทุกจุดให้บริการ – เมื่อนวดเสร็จจะมีการทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทันที – ต้องรับการตรวจวัดอุณหภูมิและคัดกรองก่อนการรับบริการทุกครั้ง โทรนัดหมายก่อนเข้ารับบริการได้ที่ 02-3069169, 02-3069100 ต่อ…

Home Isolation ท่านสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น เมื่อต้องกักตัวแล้วมีอาการดังนี้

Home Isolation ท่านสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น เมื่อต้องกักตัวแล้วมีอาการดังนี้ เมื่อกักตัวแล้วมีอาการต่างๆ ท่านสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นตามคำแนะนำเหล่านี้ 1. มีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส – พักผ่อนให้เพียงพอราว 8 ชั่วโมงต่อวัน – ดื่มน้ำมากๆ แนะนำว่าควรดื่มน้ำเรื่อยๆ เมื่อดื่มน้ำเพียงพอสังเกตสีของปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อน – รับประทานยาพาราเซตตามอลทุก 4-6 ชั่วโมง ครั้งละ 1 เม็ด – เช็ดตัวบริเวณคอ หรือข้อพับต่าง ๆ เพื่อลด ความร้อน 2. มีอาการไอ – หลีกเลี่ยงการนอนราบ ให้นอนตะแคง หรือ นอนหมอนสูง – รับประทานยาแก้ไอ หรือยาอมบรรเทาอาการไอ – จิบน้ำผึ้งผสมน้ำอุ่น (ห้ามให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือนเด็ดขาด) 3. มีอาการหายใจลำบาก หายใจไม่สะดวก – เปิดหน้าต่าง หรืออยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก – หายใจช้า ๆ…

Home Isolation การแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วย COVID-19

Home Isolation การแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วย COVID-19 สำหรับผู้ที่แพทย์ให้ทำ Home Isolation จะมีข้อปฏิบัติ อุปกรณ์ และสิ่งต่างๆ ที่ทางรพ.จะสนับสนุนให้เมื่อต้องทำการกักตัว การแยกกักตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่ 1. รอ Admit ที่รพ.และเป็นผู้ที่แพทย์พิจารณาว่ารักษาที่บ้านได้ 2. รักษาตัวในรพ. หรือสถานที่ที่รัฐจัดให้อย่างน้อย 10 วัน แล้วจำหน่ายเพื่อ Home Isolation ต่อ ผู้ที่เข้าเกณฑ์การทำ Home Isolation 1.ผู้ติดเชื้อที่สบายดี หรือไม่มีอาการ 2. มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง 3. มีอายุน้อยกว่า 60 ปี 4. ไม่มีโรคร่วมดังต่อไปนี้ – โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง – โรคไตเรื้อรัง – โรคหัวใจและหลอดเลือด – โรคหลอดเลือดในสมอง – เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ – หรือโรคอื่นๆตามดุลยพินิจของแพทย์ 5. มีห้องแยกที่เป็นสัดส่วนชัดเจน 6. น้ำหนักน้อยกว่า 90…