ระบบนัดหมายฉีดวัคซีนโควิด (Sinovac) เข็มที่ 2 สำหรับบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน

ระบบนัดหมายสำหรับบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อน ในการฉีดวัคซีนโควิด 19 (Sinovac) เข็มที่ 2  นัดหมายฉีดวันอาทิตย์ที่ 23, 30 พฤษภาคม 2564 ณ.หอผู้ป่วยนอกชั้น 3 อาคารราชนครินทร์   [vc_table vc_table_theme=”classic” allow_html=”1″]%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201,%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1,%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89|30%20%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99,21%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1,%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2023%20%E0%B8%9E%E0%B8%84.%209-15%E0%B8%99.|2%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1,23%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1,%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2023%20%E0%B8%9E%E0%B8%84.%209-15%E0%B8%99.|5%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1,27%20%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1,%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2030%20%E0%B8%9E%E0%B8%84.%209-14%E0%B8%99.[/vc_table] คำแนะนำ ขอให้เลือกวันนัดให้ตรงกับวันที่แนะนำในตาราง ไม่ควรฉีดวัคซีนก่อนถึงกำหนดนัด แต่การฉีดเลยกำหนดเล็กน้อยไม่เป็นไร คำแนะนำก่อนฉีดวัคซีน ก่อนฉีดวัคซีนควรพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มนำ้มากๆ หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดนำ้มุก (Pseudoephridine) อย่างน้อย 48 ชม. เลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน ถ้าท่าน กำลังไม่สบาย มีไข้ มีอาการปวดไมเกรนรุนแรง 1-2 วันก่อนฉีด เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อุบัติเหตุที่สมอง ภายใน 3 เดือน เพิ่งคลอดบุตร ภายใน 6 สัปดาห์ เพิ่งกินยาไมเกรน (cafergot/relpax) ภายใน 5 วัน การมีประจำเดือนไม่ได้เป็นข้อห้ามในการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามมีผู้เชี่ยวชาญบางท่าน แนะนำให้เลื่อนการฉีดไปก่อนในวันที่ท่านมีประจำเดือน ผลข้างเคียงทางระบบประสาทพบน้อยมาก…

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis)

ไวรัสตับอักเสบ (Hepatitis) ปัจจุบันไวรัสตับอักเสบที่ค้นพบว่าก่อโรคในคนได้บ่อยๆประกอบด้วยไวรัสตับอักเสบชนิด เอ บี ซี ดี และ อี โดยสาเหตุ นั้นเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าไปในตับโดยแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันในการดำเนินโรค ในบทความ นี้จะว่ากันไป ตามลำดับตัวอักษร ไวรัสตับอักเสบ เอ ว่ากันว่าเชื้อตัวนี้เป็นไวรัสดั่งเดิมที่มีการกล่าวไว้ตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ มีการบรรยายไว้ถึงการระบาดโดยเกิดดีซ่าน กันทั้งเมือง ไวรัส เอ นี้การติดต่อเกิดขึ้นได้ง่ายทางการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค หลังจากที่เชื้อโรคผ่าน กระเพาะ ไปยังลำไส้ในเบื้องต้นเชื้อจะฝังตัวอยู่ในลำไส้หลังจากนั้นก็จะกระจายเข้าสู่ตับอันเป็นที่อยู่ที่อุดมสมบูรณ์สำหรับ เชื้อตัวนี้ หลังจากรับเชื้อประมาณ 1-2 สัปดาห์ จะเกิดอาการตับอักเสบเฉียบพลันคือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ดีซ่าน โดยในผู้ใหญ่จะมีอาการมากกว่าในเด็ก ในประเทศไทยในปัจจุบันการระบาดไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย การระบาดที่มีรายงาน ในช่วงหลังมักจะเกิดตามแหล่งที่มีการอยู่อาศัยกันอย่างหนาแน่นเช่นบ้านเด็กอ่อน ค่ายทหาร รวมไปถึงล่าสุด มีการระบาดตามจังหวัดแนวตะเข็บชายแดน ไวรัสตับอักเสบเอเป็นไวรัสที่เป็นเฉียบพลัน หายแล้วหายขาดในคนที่มีภูมิคุ้มกันแล้วจะไม่เป็นซ้ำอีก ปัญหาในปัจจุบันพบน้อยลงตามลำดับจากสาธารณสุขที่ดี ขึ้นของ ประเทศ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีวัคซีนป้องกันได้อีกด้วย ไวรัสตับอักเสบ บี เป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้านใน AEC ทั้งหมดอีกด้วย ประชากรไทยในปัจจุบันถึง ประมาณ ร้อยละ 3…

Norepinephrine

ข้อมูลยา Norepinephrine (4 mg/4 ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาภาวะความดันโลหิตต่ำเฉียบพลัน ค่าที่เฝ้าติดตามBP, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาติดตาม BP ทุก 5-10 นาที ตั้งแต่เริ่มให้ยาจนถึง target BP/MAP หลังจากนั้นทุก 1 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังหัวใจเต้นช้า, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, ปวดศีรษะ, Extravasation ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปวดศีรษะ Extravasation

Regular insulin (RI)

ข้อมูลยา Regular insulin (10 ml) Injection (IV route) ข้อบ่งใช้ลดระดับน้ำตาลในเลือด ค่าที่เฝ้าติดตามระดับน้ำตาลในเลือด, HR, อาการ hypoglycaemia ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาระดับน้ำตาลในเลือด, HR, อาการ hypoglycaemia ภายใน 60 นาทีหลังให้ยา อาการที่ควรระวังHypoglycemia: ใจสั่น, เหงื่อออกมาก, หน้ามืด, เป็นลม Blood glucose: ผู้ใหญ่: <70 mg/dL และ เด็ก: <60 mg/dL ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการใจสั่น เหงื่อออกมาก หน้ามืด เป็นลม

Potassium Chloride

ข้อมูลยา Potassium Chloride (20 mEq/10 ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ  ค่าที่เฝ้าติดตามระดับโพแทสเซียมในเลือด, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาระดับโพแทสเซียมก่อนให้ยา, HR หลังฉีดทันที, 10 นาที และ 2 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังใจสั่น, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, extravasation ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง

Magnesium Sulfate

ข้อมูลยา 50% Magnesium sulfate (1 g/2 ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะแบบ Torsades de Pointes ค่าที่เฝ้าติดตามระดับแมกนีเซียมในเลือด, HR, RR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาระดับแมกนีเซียมก่อนและหลังให้ยา, HR, RR หลังฉีดทันที, 15 นาที และทุก 4 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังหัวใจเต้นช้า, ความดันต่ำ, Flushing ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการหัวใจเต้นช้า ความดันต่ำ Flushing

Dobutamine

ข้อมูลยา Dobutamine (250 mg/20 ml) Injection ข้อบ่งใช้เพิ่มแรงบีบตัวของหัวใจ ค่าที่เฝ้าติดตามBP, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาติดตาม BP, HR หลังฉีดทันที และทุก 1 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังหัวใจเต้นผิดปกติ, เจ็บหน้าอก, หายใจลำบาก หอบเหนื่อย ผื่นขึ้น, hypokalemia ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการใจสั่น หายใจหอบ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ Extravasation

Dopamine

ข้อมูลยา Dopamine (250 mg/10 ml) Injection ข้อบ่งใช้ภาวะความดันโลหิตต่ำ ค่าที่เฝ้าติดตามBP, HR ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยาติดตาม BP, HR หลังฉีดทันที และทุก 1 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังใจสั่น, ความดันต่ำ, เจ็บหน้าอก, ปวดศีรษะ ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อพบอาการความดันผิดปกติ เจ็บหน้าอก ปวดศีรษะ

พยาธิตัวตืด

พยาธิตัวตืด (Tapeworm) เป็นพยาธิที่พบได้ทั่วโลก ชนิดที่พบบ่อยได้แก่ พยาธิตัวตืดหมูและพยาธิตืดวัว พยาธิตืดวัวจะพบได้บ่อยกว่าพยาธิตืดหมู โดยเฉพาะในประเทศที่มีการเลี้ยงหมู วัว ควาย และนิยมรับประทานทั้งหมู เนื้อวัว และเนื้อควาย ไข่   มีลักษณะกลมสีน้ำตาลเหลือง เมื่อหมูหรือวัวกินไข่ของพยาธิตัวตืดเข้าไป ไข่จะฟักเป็นพยาธิตัวอ่อนในลำไส้แล้วไชเข้ากระแสเลือดไปอยู่ในกล้าม เนื้อทั่วร่างกาย และอวัยวะอื่นๆ ของหมูหรือวัว ลักษณะเป็นถุงน้ำใสเล็กๆ ขาวๆ คล้ายเม็ดสาคู มีหัวของพยาธิอยู่ภายใน ซึ่งเป็นระยะติดต่อ เมื่อคนกินหมูหรือวัวที่มี เม็ดสาคูโดยไม่ปรุงสุก หรือสุกๆดิบๆ พยาธิตัวอ่อนจะโผล่หัวออกมา และเจริญเติบโตเป็นพยาธิ เต็มวัยเกาะติดอยู่กับผนังลำไส้เล็กโดยมีปล้องยาวออกไปเรื่อยๆ พยาธิตัวเต็มวัยทำ ให้เกิดอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย เบื่ออาหาร รวมทั้งคลื่นไส้ อาเจียน และซีด จากภาวะโลหิตจาง พยาธิตัวเต็มวัย จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็กของคน จะใช้ส่วนหัวเกาะที่ผนังลำไส้ และปล่อยให้ลำตัวแขวน เคลื่อนไหวเป็นอิสระในลำไส้ พยาธิตัวตืดมีลักษณะตัวแบนๆ คล้ายเส้นบะหมี่ พยาธิตืดหมูมีขนาดเล็กและสั้นกว่าพยาธิตืดวัว โดยมีขนาดประมาณ 2-4 เมตร ส่วนพยาธิตืดวัวโดยปรกติจะมีขนาดยาว *5-10 เมตร พยาธิจะสลัดปล้องสุกเป็นท่อนๆ ออก มาเป็นคราวปนออกมากับอุจจาระ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า…

Digoxin

ข้อมูลยา Digoxin (250 mg/ml)(2ml) Injection ข้อบ่งใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลว และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ค่าที่เฝ้าติดตามK+,Ca2+,Mg2+,EKG, Digoxin serum level (หลังให้ยา 6 ช.ม.) (ตามแพทย์สั่ง) ระยะเวลาที่ต้องติดตามหลังจากให้ยา– Vital signs ทุก 15 นาที 2 ครั้ง, ทุก 30 นาที อีก 3 ครั้ง ต่อไปทุก 1 ชั่วโมง จนครบ 5 ช.ม. – EKG ขณะให้ยา และหลังให้ยา 1 ชั่วโมง อาการที่ควรระวังEKG ผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน มองเห็นแสงสีเขียวเหลือง ข้อมูลเพิ่มเติม/แจ้งแพทย์เมื่อEKG ผิดปกติ คลื่นไส้, อาเจียน, มองเห็นแสงสีเหลืองเขียว