โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง Lympphatic filariasis โรคเท้าช้าง เป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค มีอาการที่เห็นได้ชัด คือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง สาเหตุและแหล่งระบาด โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด ชนิดแรกเกิดจากเชื้อ Brugia malayi มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมียุงลายเสือ (Mansonia) เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี; อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก; อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ยุงลายป่า (Aedes niveus group) เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้…

โรคพยาธิใบไม้ปอด

โรคพยาธิใบไม้ปอด Lung flukes โรคพยาธิใบไม้ปอด ชนิดพาราโกนิมัส Paragonimus เข้าไปอาศัยอยู่ในปอด โรคนี้เกิดได้ในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด เช่น แมว สุนัข เป็นต้น การติดต่อโรค คนและสัตว์ติดต่อโรคได้โดยการกินปูและกุ้งน้ำจืดบางชนิดที่ดิบๆ เช่น ปูน้ำตก ปูลำห้วย ปูป่า กุ้งฝอย ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิใบไม้ปอดอยู่ ตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิจะไชทะลุผนังลำใส้เล็กส่วนต้นออกสู่ช่องท้องผ่านกระบังลมเข้าฝังตัวในปอด เจริญเป็นตัวเต็มวัยอยู่ในถุงหุ้ม และออกไข่สีเหลืองอมน้ำตาลจำนวนมาก ไข่จะออกมากับเสมหะและบางครั้งอาจพบตัวพยาธิในเสมหะด้วย ถ้าคนไข้กลืนเสมหะอาจพบไขพยาธิในอุจจาระ ไข่ที่ปนเปื้อนในน้ำจะเจรฺญเติบโตในหอยและปูตามลำดับ รูปปูขน Eriocheir japonicus เป็นตัวนำโฮสท์ตัวกลางตัวที่สองของพยาธิ P. westermani ที่พบบ่อยที่ประเทศญี่ปุ่น จีนและเกาหลี พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อ (metacercaria) จะอยู่ในเหงือกของปู อยู่เรียงกันเป็นแถว รูปกุ้ง Procambarus clarkii ตัวนำโฮสท์ตัวกลางตัวที่สองอีกชนิดหนึ่งของพยาธิ P. westermani วงจรชีวิตพยาธิใบไม้ปอด แหล่งระบาด พบโรคนี้ในหลายประเทศของทวีปเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ สำหรับประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยในบางท้องที่ของจังหวัดเพชรบูรณ์ สระบุรี นครนายก เชียงราย น่าน เลย ราชบุรี…

โรคพยาธิหอยโข่ง

โรคพยาธิหอยโข่ง Angiostrongyliasis โรคพยาธิหอยโข่ง เป็นโรคที่เกิดจากพยาธิตัวกลมที่มีชื่อว่า แองจิโอสตรองจิลัส แคนโตเนนซิส  Angiostrongylus cantonensis ซึ่งตามปกติเป็นพยาธิที่อาศัยอยู่ในหลอดเลือดแดงของปอดหนู รูปร่างลักษณะ                                                                                           …

โรคพยาธิใบไม้ตับ

โรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver flukes) โรคพยาธิใบไม้ตับในประเทศไทย เกิดจาก พยาธิใบไม้ตับ ชนิด Opisthorchis viverrini ซึ่งมีรูปร่างแบนคล้ายใบไม้ ส่วนหัวและท้ายเรียวมน ขนาด ยาว 7-12 มม. กว้าง 2-3 มม. พบมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นๆ พบน้อย โรคนี้เป็นสาเหตุหลักของโรคมะเร็งท่อน้ำดีในคนไทย การติดโรค โรคนี้เกิดจากการกินอาหารประเภทน้ำจืดชนิดมีเกล็ดที่มีตัวอ่อนของพยาธิอยู่ หากทานดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาหมกไฟ ปลาร้า ฯลฯ ปลาในประเทศไทยที่พบว่ามีพยาธิตัวอ่อน เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาขาว ปลาตะเพียน ฯลฯ อาการ ระยะแรกๆมักจะไม่มีอาการ เมื่อมีพยาธิสะสมมากๆเป็นเวลานานจะทำให้เกิดอาการ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง เจ็บบริเวณชายโครงขวา ออกร้อนบริเวณหน้าท้อง ถ้าปล่อยไว้นานๆ จะมีอาการอักเสบของท่อน้ำดี ตัวเหลือง ตาเหลือง ตับโต มีไข้ บางรายอาจกลายเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในตับ และอาจถึงตายได้…

โรคพยาธิตัวจี๊ด

โรคพยาธิตัวจี๊ด Gnathostomiasis สาเหตุของโรค โรคพยาธิตัวจี๊ดมีสาเหตุมาจากพยาธิตัวกลมที่มีชื่อเรียกว่า พยาธิตัวจี๊ด และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า แนธโธสโตมา สไปนิจิรุม Gnathostoma spinigerum พยาธิมีรูปร่างลักษณะอย่างไร ตัวแก่ของพยาธิทั้งตัวผู้และตัวเมียยาวประมาณ 1.5-3.0 ซม. มีลักษณะลำตัวกลมยาว หัวคล้ายลูกฟักทองทั้งหัวและตัวของพยาธิพวกนี้จะมีหนามตัวอ่อนของพยาธิในระยะติดต่อ มีลักษณะคล้ายพยาธิตัวเต็มวัยแต่มีหนามน้อยกว่า มักจะพบขดตัวอยู่ในถุงหุ้มซึ่งฝังตัวอยู่ใน เนื้อของสัตว์พาหะ ส่วนพยาธิที่พบในคนจะเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ และมีขนาดยาวประมาณ 0.4-0.9 ซม. แหล่งระบาดของพยาธิและโรค ในประเทศไทยมีสัตว์ประมาณ 44 ชนิด ที่ตรวจพบว่ามีตัวอ่อนระยะติดต่อของพยาธิตัวจี๊ดอยู่ ได้แก่ ปลาน้ำจืด เช่น ปลาช่อน ปลาไหล ปลาดุก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น กบ ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน เช่น ตะกวด สัตว์จำพวกนก รวมทั้งเป็ดและไก่ สัตว์จำพวกหนู กระแต ส่วนสัตว์ที่เป็นรังโรคพยาธิตัวจี๊ดมีหลายชนิด รวมทั้งสุนัขและแมว การสำรวจปลาไหลในเขตจังหวัดภาคกลาง พบว่ามีการกระจายของพยาธิตัวจี๊ดอยู่หลายจังหวัด เช่น อ่างทอง อยุธยา ราชบุรี นครนายก ปราจีนบุรี…

ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย ช่วงนี้เข้าหน้าฝน ฝนตกเกือบทุกวัน เปียกปอนกันถ้วนหน้า ตามบริเวณรอบๆบ้านเรือนก็จะมีน้ำขังและอาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายได้ วิธีหนึ่งที่ได้ผลดีในการกำจัดลูกน้ำยุงลายคือการใช้ทรายในการกำจัดลูกน้ำยุงลายซึ่งเป็นหนึ่งวิธีที่นิยมทำกัน แต่เนื่องจากมีประชาชนหลายท่านเกิดมีข้อสงสัยสอบถามกันเข้ามามากมาย ทางรพ.จึงได้รวบรวมคำถาม คำตอบต่างๆเกี่ยวกับเรื่องการใช้ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจง่ายและนำไปใช้ได้ถูกต้องกันครับ . ก่อนอื่นขออธิบายว่า จริงๆแล้ว “ทรายอะเบท” (Abate) เป็นชื่อทางการค้าของผลิตภัณฑ์ทรายกำจัดลูกน้ำยี่ห้อหนึ่ง หมายถึงทรายที่ถูกเคลือบด้วยสารเคมีพวกอะเบท (เป็นสารประกอบที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ) ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขได้นำมาใช้ในการกำจัดลูกน้ำของยุงลายตามบ้านเรือนจึงทำให้ประชาชนทั่วไปรู้จักกันในชื่อนี้ ทั้งนี้ในปัจจุบันก็มีการเรียกชือต่างๆกันออกไป เช่น “ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย” “ทรายเทมีฟอส” เป็นต้น แต่ในบทความนี้ผมจะเรียกตามชื่อทรายอะเบทเพื่อให้เข้าใจง่ายนะครับ . ถาม – พูดถึงสรรพคุณ ตอบ – ใช้เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ซึ่งจะเป็นอีกทางที่จะป้องกันมิให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออกซึ่งมียุงลายเป็นพาหะ ทั้งนี้จะป้องกันไม่ให้เกิดลูกน้ำได้นานประมาณ 3 เดือน (ต่อการใช้ 1 ครั้ง) . ถาม – แนะนำการใช้ทรายอะเบท ตอบ – การใช้ อันที่จริงแนะนำให้ใช้ตามฉลากแต่ละผลิตภัณฑ์ เนื่องจากความเข้มข้นไม่เท่ากัน ยกตัวอย่าง ทราย 1 กรัม ใส่ในน้ำ 1 ลิตร หรือ…

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโปรโตซัว โรคท้องร่วงเกิดได้จากหลายสาเหตุ เชื้อโปรโตซัวเป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งสามารถป้องกันและรักษาได้ เชื้อโปรโตซัวที่ทำให้เกิดโรค อุจจาระร่วง ได้แก่ เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้อไกอาเดีย (Giardia) และเชื้อในกลุ่มคอกซิเดีย (Coccidia) เชื้ออะมีบา (Amoeba) เชื้ออะมีบา ก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง (เชื้อบิดมีตัว Entamoeda histolytica) อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดแผลในลำไส้ใหญ่และสามารถผ่านเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดโรคฝีบิดในตับ ปอด สมอง ลักษณะพยาธิ Amoeba รูปพยาธิ Entamoeba histolytica ระยะ trophozoite ขนาด 8-30 ไมครอน ดูจากอุจจาระสดโดยใช้น้ำเกลือนอร์มัล เป็นระยะที่มีการเติบโตกินอาหาร และมีการเคลื่อนไหว โดยอาศัยขาเทียม (pseudopodia) จะเห็นเม็ดเลือดแดง ที่พยาธิกินเข้าไปอยู่เป็นจำนวน   มากใน cytoplasm ไม่เห็นนิวเคลียส รูปพยาธิ E.histolytica ระยะ trophozoiteได้จากการเพาะเลี้ยงในอาหาร รูปพยาธิ E.histolytia ระยะ trophozoite ย้อมด้วยสี trichrome จะเห็นนิวเคลียส 1 อัน…

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) โรคไข้ฉี่หนู เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นเกลียว มีชื่อว่า Leptospira จึงเรียกชื่อโรคนี้ว่าเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เชื้อนี้ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว สุกร โค กระบือ ม้า แพะ แกะ ฯลฯ และที่สำคัญคือหนู แต่สัตว์ต่างๆ อาจไม่แสดงอาการป่วย การติดต่อ โรคนี้เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยสัตว์ที่เป็นโรคนี้จะขับถ่ายเชื้อโรคออกมากับปัสสาวะ เชื้อจะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือมีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า บาดแผลหรือเยื่อเมือก ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำหรือคนที่ย่ำน้ำในที่น้ำท่วมขังนานๆ แหล่งระบาด โรคนี้พบมากในเขตร้อนหรือเขตมรสุม เพราะมีสภาพอากาศที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของเชื้อ และมีสัตว์ที่เป็นรังโรคอยู่ชุกชุม ในประเทศไทยโรคนี้กระจายอยู่ทั่วประเทศ และมีรายงานพบผู้ป่วยมากในภาคอีสาน อาการ คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ ในผู้ที่มีอาการมักแสดงหลังจากได้รับเชื้อ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์ อาการที่สำคัญ คือ มีไข้ ปวดศีรษะ ตาแดง…

โรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis : JE)

โรคไข้สมองอักเสบ (Japanese encephalitis : JE) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเจอีที่สมอง โดยมีพาหะสำคัญคือ ยุงรำคาญ ชนิด Culex tritaeniorrhynchus ซึ่งมักแพร่พันธุ์ในนาข้าว โรคนี้เป็นโรคสมองอักเสบ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย การติดต่อ โรคนี้มีหมูเป็นรังโรค เชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนในหมูอย่างรวดเร็วโดยไม่มีอาการป่วย เมื่อยุงรำคาญชนิดที่เป็นพาหะ มากัดและดูดเลือด ไวรัสจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง ซึ่งจะสามารถแพร่โรคไปให้คนหรือสัตว์ที่ถูกกัดได้ เช่น ม้า วัว ควาย แพะ แกะ และนก เป็นต้น แหล่งระบาด โรคนี้มีรายงานครั้งแรกจากประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันพบโรคนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการทำนาร่วมกับการเลี้ยงหมู พบผู้ป่วยมากในจังหวัดแม่ฮ่องสอน มุกดาหาร กำแพงเพชร สมุทรสาคร และน่าน อาการ ผู้ที่ได้รับเชื้ออาจมี หรือไม่มีอาการป่วยก็ได้ ประมาณว่าผู้ติดเชื้อ 300 คน อาจป่วยเป็นโรคนี้ได้ 1 คน ผู้ป่วยมักแสดงอาการหลังได้รับเชื้อ 5-15 วัน ในระยะแรกจะมีไข้สูง อาเจียน…

โรคพยาธิ

สิ่งน่ารู้เกี่ยวกับโรคพยาธิ โรคพยาธิตัวจี๊ด Gnathostomiasis รายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิใบไม้ตับ Liver flukes รายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิหอยโข่งAngiostrongylus cantonensisรายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิเท้าช้างต่อมน้ำเหลืองWuchereria bancroftiรายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิใบไม้ปอดParagonimus heterotremusรายละเอียดเพิ่มเติม โรคพยาธิชอนไชผิวหนังCutaneous larva migransรายละเอียดเพิ่มเติม พยาธิ คืออะไร พยาธิคือ สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และสัตว์ คอยแย่งอาหารหรือดูดเลือดและมักจะทำให้เกิดอันตรายต่อคนหรือสัตว์ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายที่มันอาศัยอยู่พยาธิมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน นอกจากนี้เราสามารถพบระยะต่างๆ ของพยาธิปะปนอยู่ในธรรมชาติที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมัน เช่น ในดิน พื้นหญ้า ในน้ำ ในเนื้อสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พืชผักต่างๆ น้ำดื่ม และในแมลงพาหะนำโรคหลายชนิด พยาธิเข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร พยาธิสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้หลายทางที่สำคัญ คือ ทางปาก เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิแส้ม้า พยาธิตัวตืดชนิดต่างๆ พยาธิใบไม้ตับและพยาธิใบไม้ลำไส้บางชนิด พยาธิตัวจี๊ด พยาธิใบไม้ปอด และพยาธิหอยโข่ง ทางผิวหนัง เช่น พยาธิปากขอ พยาธิเส้นด้าย ทางสายรกในครรภ์ เช่น พยาธิตัวจี๊ด จะรู้อย่างไรว่าเป็นโรคพยาธิ เมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติของร่างกาย เช่น หิวบ่อยและทานอาหารมาก น้ำหนักลด ท้องอืด ท้องเฟ้อ…