โรคไข้ไรอ่อน Scrub typhus

โรคไข้ไรอ่อน Scrub typhus เพิ่งไปเที่ยวป่า ออกมามีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และมีแผลคล้ายบุหรี่จี้ อย่ารอช้าครับ รีบไปพบแพทย์อย่างด่วนเลย!!! วันนี้โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนขอเสนอ โรคไข้ไรอ่อน หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ หรือโรคสครับไทฟัส Scrub typhus เป็นโรคเดียวกันนะครับ กล่าวคือ โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ที่ชื่อโอเรียนเทีย ซูซูกามูชิ (Orientia tsutsugamush) โดยมีไรอ่อนเป็นภาหะ เจ้าไรอ่อนจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ ทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ เมื่อมีสัตว์ผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น จะถูกไรอ่อนเกาะและดูดเลือดหากสัตว์เหล่านั้นมีเชื้อโรคนี้อยู่ ไรอ่อนก็จะติดโรคนี้ เราจะติดโรคนี้ได้อย่างไร ถ้าหากเราบังเอิญเดินทางหรือไปพักแรมในบริเวณที่มีไรอ่อนอยู่ ไรอ่อนจะไต่ตามเสื้อผ้า เช่น ขากางเกง และมักไปหยุดดูดเลือดแถวในที่อับ ลับตาคน เช่นที่อับขื้นใต้ร่มผ้า ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านแผลบริเวณผิวหนังที่ถูกกัด และตรงบริเวณที่โดนไรอ่อนกัดจะเป็นแผลคล้ายถูกบุหรี่จี้ (แรกๆจะเป็นตุ่มแดงๆ อยู่ 2-3 วัน แล้วแตก เป็นแผล พอแผลแห้งก็เป็นสะเก็ดดำๆคล่ายรอยถูกบุหรี่จี้) ต่อมาต่อมน้ำเหลืองแถวที่ถูกกัดจะบวมเจ็บ และจากนั้นก็จะมีไข้ อาการสำคัญของไข้ไรอ่อน คนไข้ส่วนใหญ่มักมีไข้ ปวดศรีษะ ปวดตัว เวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน…

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis)

โรคไข้ฉี่หนู (Leptospirosis) ฝนตกอีกแล้ว…. เชื่อว่าทุกท่านคงเคยได้ยินชื่อโรคไข้ฉี่หนู หรือ เลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) ที่พูดกันบ่อยๆ แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ร้ายไม่ใช่แค่หนูตามชื่อ แต่ยังรวมไปถึง หมา แมว วัว ควาย หมู ฯลฯ จึงเกิดเป็นมหากาพย์ความรู้ในวันนี้ ถ้าพร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ ถาม: อ่าว แล้วทำไมถึงเรียกว่าไข้ฉี่หนู? ตอบ: ในตอนแรกๆที่มีการค้นพบโรคนี้ พบว่าเชื้ออยู่ในปัสสาวะของหนู จึงเรียกว่าฉี่หนู แต่ภายหลังพบว่าสัตว์อื่นก็นำโรคได้ แต่ก็ยังเรียกโรคฉี่หนูเรื่อยมาด้วยความเคยชินครับ ถาม: ใครบ้างที่จะเสี่ยงโรคนี้? ตอบ: ต้องขอเกริ่นก่อนว่า สัตว์เหล่านี้(ที่กล่าวข้างต้น) จะมีเชื้อเลปโตสไปรา(Leptospira) อยู่ในตัวและจะติดเชื้อที่ท่อไตจากนั้นจะปล่อยเชื้อออกมากับปัสสาวะ แต่สัตว์เหล่านี้จะไม่แสดงอาการป่วยใดๆเลย ลองนึกภาพตามนะครับ พอฝนตกลงมาก็จะพัดพาเอาเชื้อพวกนี้ไปรวมกันอยู่บริเวณน้ำท่วมขัง เชื้อก็จะอาศัยอยู่ได้ในดินที่ชื้นแฉะ หรือที่มีน้ำขัง และเข้าสู่คนทางผิวหนังอ่อน เช่น ซอกนิ้วมือและเท้า หรือบาดแผล ดังนั้นมักจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์ เช่น สัตวบาล เกษตรกร และผู้มีอาชีพสัมผัสกับน้ำ คนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมขังนานๆ หรือแม้กระทั่งผู้ที่ชอบไปท่องเที่ยวเดินป่าที่ไปย่ำนำขัง ก็อาจมีความเสี่ยงได้ ถาม: หลังจากติดเชื้ออาการจะเป็นยังไงบ้าง? ตอบ: คนที่ได้รับเชื้ออาจมีหรือไม่มีอาการ…

“Healthcare 2022 จักรวาลผู้สูงวัย”

“Healthcare 2022 จักรวาลผู้สูงวัย” โดยเครือมติชน วันที่ 30 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565 โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เข้าร่วมงานแฟร์เพื่อสุขภาพ “Healthcare 2022 จักรวาลผู้สูงวัย” โดยเครือมติชน ในวันที่ 30 มิถุนายน – 3 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา  ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ ทางรพ.ได้นำบริการด้านสุขภาพที่หลากหลายจากโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนไปให้บริการมากมาย วันที่ 30 มิถุนายน 2565 – ปรึกษาการเดินทางและท่องเที่ยว กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การท่องเที่ยวและการเดินทาง – บริการทำวัคซีนพาสปอร์ต Fast track ฟรี (เฉพาะงานนี้เท่านั้น) วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 – ให้คำปรึกษาปัญหาโรคผิวหนังโดยแพทย์เฉพาะทาง (13.00 – 15.00…

พยาธิตืดหมู

พยาธิตืดหมู สำหรับท่านที่เป็นสายหมูดิบ อยากให้ลองค่อยๆอ่านบทความสั้นๆ และจินตนาการตามนะครับ (ไม่แนะนำให้อ่านตอนกำลังทานอะไรอยู่) เมื่อพยาธิตัวตืดเข้าไปในร่างกายและโตเต็มวัย ส่วนหัวของเจ้าพยาธิตัวตืดก็จะไปเกาะอยู่ที่ผนังลำไส้ ซึ่งจะปล่อยตัวทอดยาวไปตามแนวลำไส้ ประดุจบะหมี่เส้นแบนที่ยาวหลายเมตร(อาจจะ 2-4เมตรเลยทีเดียว) เวลาเจ้าตืดหมูขยับทีก็จะพลิ้วไหวแขวนตัวเป็นอิสระในลำไส้ บางครั้งถ้าเจ้าตืดหมูรู้สึกนึกสนุกก็จะสลัดตัว(ที่เป็นปล้อง) ปนออกมากับอุจจาระให้ท่านได้ชมเป็นครั้งคราว ซ้ำร้ายบางครั้งปล้องพยาธิอาจไชออกมาจากก้น ทำให้รู้สึกคันยุกยิก ซึ่งภายในปล้องพยาธิก็จะเต็มไปด้วยไข่ของตัวตืด และเมื่อปล้องพยาธิแตกก็จะมีไข่แตกกระจายปนกับอุจจาระ ที่หนักไปกว่านั้น! หากตืดหมูสลัดปล้องสุกที่อยู่ในลำไส้กลับขึ้นไปในกระเพาะอาหาร จะทำให้พยาธิตัวอ่อนในไข่ฟักตัวออกมา แล้วไชเข้ากระแสเลือดไปเติบโตเป็นถุงตัวตืดลักษณะแบบเดียวกับเม็ดสาคูในเนื้อหมู(ดูรูปได้ในลิงค์ด้านล่าง) สามารถพบตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แม้แต่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง หรือบางครั้งอาจ คลำเป็นเม็ดๆ ใต้ผิวหนัง “อาการของโรคถุงพยาธิตืดหมูขึ้นสมองมีได้หลายอย่าง แล้วแต่ว่าถุงพยาธิไปอยู่บริเวณใดของสมองและมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ถ้ามีถุงพยาธิตัวตืดจำนวนมากในสมอง อาจทำให้เสียชีวิตได้” ถ้าอ่านถึงตรงนี้แล้ว หากท่านจะคิดยังทานหมูดิบอยู่ ลองเข้าไปอ่านข้อมูลทั้งหมดของพยาธิตัวตืด ได้ที่ : https://tropmedhospital.net/knowledge/tapeworm.html หนังสือโรคเขตร้อนฉบับประชาชน อ่านเลย! : https://www.tm.mahidol.ac.th/…/book-tropical-diseases… นัดหมายตรวจพยาธิ : https://tropmedhospital.net/tropmed-excellence-clinic… #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #คณะเวชศาสตร์เขตร้อน #มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น ”โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้” เดิมทีโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อันที่จริงไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้ที่ต้องมีการเตือนประชาชนให้ดูแลป้องกันตนเองเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วในหลายประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น การติดต่อ>>> คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ อาการ>>> เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง…

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน ช้าก่อน! อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่าถ้าน้องลิงกัดคนแล้วจะเป็นมาลาเรีย แท้จริงแล้วมาลาเรียโนวไซ >>> เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium knowlesi ซึ่งเชื้อนี้มีอยู่ในลิง แต่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคในคนได้ เป็นไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน “ผ่านยุงก้นปล่องที่ไปกัดลิงที่มีเชื้อ แล้วมากัดคน” ซึ่งมาลาเรียชนิดโนวไซสามารถแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วกว่าเชื้อมาลาเรียชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 31 มี.ค. 2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิด “โนวไซ” แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด – ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะสงสัยว่า อ่าว! แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น มาลาเรียชนิดโนวไซ? >>> คำตอบคือ ท่านจะยังไม่ทราบครับ อาการจะเหมือนอาการไข้มาลาเรียนั่นแหละครับ และอาการของโรคจะคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยอีกหลายโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดใหญ่ (ซึ่งมีการรักษาแตกต่างกัน) ดังนั้น “หากท่านมีประวัติกลับออกจากป่า หรือพื้นที่อยู่อาศัยของลิงที่เป็นโรค แล้วมีอาการไข้สูง…

โรคมือลอก (Hand Eczema)

โรคมือลอก (Hand Eczema) การล้างมือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำอยู่แล้ว แต่ถ้าเราล้างบ่อยเกินไป ยิ่งโดนสบู่บ่อยก็ยิ่งทำให้ผิวหนังเรา อ่อนแอมากขึ้นหรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ ถ้าเราล้างบ่อยเกินไปก็จะเกิดโรคผิวหนังอักเสบที่มือตามมาได้ หากปล่อยไว้นาน ยิ่งเป็นแผลเป็น มาก ๆ บางทีอาจลามไปทั้งมือ และถ้ามีแบคทีเรียเข้าไปติดเชื้อซ้ำซ้อน ก็จะเป็นตุ่มหนองมีอาการบวมแดงอักเสบตามมาได้ โรคผิวหนังอักเสบ สามารถเป็นได้ทั่วตัว แต่ว่าโรคผิวหนังอักเสบที่มือ หรือโรค Hand Eczema จะเจอในคนที่ล้างมือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็คือ กลุ่มคนที่ล้างมือบ่อย ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย แม่บ้าน คนที่เลี้ยงเด็ก หรือว่าช่างซ่อมเครื่องต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะเจอในคนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของ COVID – 19 เช่นนี้ ทั้งนี้คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าคนปกติ ก็คือคนที่เป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก หรือว่าคนที่เป็นโรค Atopic Dermatitis ก็อาจจะมีอาการแพ้ง่ายเช่นกัน สาเหตุของโรค Hand Eczema เกิดได้จากอาการแพ้หรืออาการระคายเคือง โดยอาการแพ้กับระคายเคืองสามารถเกิดต่อสารใด ๆ ก็ได้…

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ หน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีทั้งCOVID-19 โรคต่างๆ และมลพิษทางอากาศก็ยังไม่เว้น วันนี้แอดมินจะมาแนะนำหน้ากากชนิดต่างๆ ที่ทุกท่านน่าจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปลุยกันเลยครับ 1. หน้ากากอนามัยชนิด N95 หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆได้(หากใส่ถูกวิธี) โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป เพราะลักษณะของหน้ากากอนามัย N95 นี้มีลักษณะครอบลงไปที่บริเวณหน้าปาก และจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสหรือสารปนเปื้อนไม่สามารถลอดผ่านได้ และ แน่นอนสามารถป้องกันอนุภาคขนาดเล็กอย่าง PM2. ที่เมืองไทยเผชิญอยู่ในขณะได้ในระดับดีมากอีกด้วย Note : หากใส่เป็นเวลานานจะทำให้หายใจลำบาก อาจจะไม่เหมาะในการใส่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งของที่มีคุณภาพ อาจมีราคาสูงอีกด้วย 2. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แม้จะมีขายตามท้องตลาดทั่วไป หน้าตาคล้ายๆกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่ากัน ถ้าสามารถเลือกซื้อที่มีคุณภาพได้ ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น หน้ากากทางการแพทย์ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี และสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ สําหรับวิธีการใส่ควรใส่โดยการนําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสาร คัดหลั่งจากคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับปานกลางถึงดี แต่หากใส่ 2 ชั้นซ้อนกันก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย Note : ควรใส่ให้ถูกต้องโดยให้ฝั่งด้านบนที่มีลวดแข็งอยู่ที่สันจมูก และด้านล่างให้ดึงลงมาครอบปลายคางตลอดเวลา แนะนำเลือกใช้ที่มีคุณภาพ และใช้แล้วทิ้งไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ 3.…

ไข้เลือดออก 2022

ไข้เลือดออก 2022 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกว่า 50,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 60 ราย (ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 – 2564) ถึงแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่ดูสูงมาก แต่โรคไข้เลือดออกก็ยังคงเป็นโรคที่ต้องระมัดระวังคนในครอบครัวอยู่ในทุกๆปี แต่ช้าก่อน! วันนี้แอดมินจะไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของไข้เลือดออก แต่จะเป็นการแนะนำหากท่านมีอาการที่เข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ในช่วงโควิด ปี 2022 นี้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? 1. เช็คอาการก่อนว่ามีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนัง หรือไม่ 2. ทำการตรวจ ATK ซึ่งเป็นพื้นฐานในช่วงนี้อยู่แล้ว หากผลเป็นลบให้สังเกตอาการที่อาจจะรุนแรงของไข้เลือดออก เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องมาก หน้ามืด เป็นลม สับสน ตัวเย็น เป็นต้น (หากผลเป็นบวกให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของ COVID – 19 ต่อไป) 3. ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน ในขั้นตอนนี้ให้เช็ควัน…

โซเดียม ทำให้ตัวบวม?

โซเดียม ทำให้ตัวบวม? วันนี้เราจะมาถาม-ตอบ กันในเรื่อง “โซเดียมทำให้ตัวบวม?” คำถามง่ายๆที่หลายๆท่าน และแอดมินเองก็แอบสงสัย ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยครับ! Q: โซเดียมมาจากอะไร ทำไมขนม หรืออาหารถึงมีโซเดียม? A: โซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ ทั้งนี้ในอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และอาหารประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ มักมีโซเดียมน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนม Q: โซเดียมมีรสชาติมั้ย? A: เป็นคำถามที่อาจจะฟังดูประหลาด แต่มีหลายคนคงอยากจะรู้(รึป่าวไม่แน่ใจ) อันที่จริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุ โดยมากจะอยู่ในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น เกลือ เกลือแกง กะปิ น้ำปลา อาหารหมักดอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ…