หน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พ.ศ. 2566

(ประมวลภาพ) อีกหนึ่งโครงการที่คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำมาอย่างต่อเนื่องทุกปี คือโครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทานในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยยากไร้ในพื้นที่ทุรกันดาร ในปีนี้ทางคณะฯได้เดินทางมายังพื้นที่โรงเรียนตชด.กามาผาโด้ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ในวันที่ 16-20 มกราคม 2566 ซึ่งได้ทำการตรวจสุขภาพ และตรวจพยาธิ ให้กับประชาชน และเด็กนักเรียนในพื้นที่ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ห่างไกลมีสุขภาพ และสุขอนามัยที่ดี พร้อมให้ความรู้การดูแลตนเองแก่ชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #คณะเวชศาสตร์เขตร้อน #มหาวิทยาลัยมหิดล

ทำบัตรใหม่ออนไลน์ ได้เลข HN ทันที !!!

“ทำประวัติใหม่ Online ได้เลข HN ทันที” กรอกประวัติใหม่ Online ไม่ต้องรอเลข HN อีกต่อไป !!! ผู้รับบริการใหม่ สามารถเข้าไปทำประวัติ Online ได้ที่ https://tropmedhospital.net/hospital-registration-th หมายเหตุ : กรุณานำบัตรประจำตัวประชาชนมาเข้ารับบริการด้วยทุกครั้ง สะดวก รวดเร็ว ลดเวลารอคอย

” 3 สุดยอดความเชี่ยวชาญ ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน”

” 3 สุดยอดความเชี่ยวชาญ ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน” หลายท่านอาจจะยังไม่เคยมารับบริการที่โรงพยาบาลฯ และอาจจะยังสงสัยว่าทางโรงพยาบาลให้บริการอะไรบ้าง วันนี้แอดมินเลยขอนำเสนอ 3 คลินิกเด่นของทางรพ. ทั้งนี้ทางโรงพยาบาลยังมีบริการอื่นๆ อีกมากมายไว้ให้บริการทางด้านสุขภาพแก่ประชาชน (ไว้แอดมินจะนำมาแนะนำในอนาคตนะครับ ) ซึ่งท่านสามารถแตะที่รูปเพื่อเข้าไปดูรายละเอียด และนัดหมายการบริการได้ที่ – คลินิกไข้ – “เป็นไข้ให้ เขตร้อนดูแล” คลินิกไข้เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง คือสโลแกนของโรงพยาบาล เนื่องจากอาการไข้เกิดได้จากหลายสาเหตุ จำเป็นต้องใช้การตรวจทาง lab ที่ทันสมัย จะทำให้สามารถตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว ซึ่งทางทีมแพทย์ของโรงพยาบาลประกอบด้วยอาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ จะคอยการดูแลผู้ป่วยตามมาตรฐาน นอกจากนี้โรงพยาบาลยังมีหอผู้ป่วยสามัญ/พิเศษ และไอซียู ที่สามารถดูแลรักษาคนไข้โรคเขตร้อนที่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลอีกด้วย https://tropmedhospital.net/fever-clinic – คลินิกพยาธิ(คลินิกความเป็นเลิศทางด้านโรคเขตร้อน) – หนึ่งในสุดยอดความเชี่ยวชาญของทางโรงพยาบาล ในคณะเวชศาสตร์เขตร้อนมีภาควิชาที่มีการเรียนการสอนทางด้านพยาธิ และโรคเขตร้อนมายาวนานกว่า 60 ปี และมีโรงพยาบาลที่ให้การรักษาด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้นถ้าสงสัยตัวเองว่าเป็นโรคพยาธิ ควรปรึกษาแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อยาถ่ายพยาธิกินเอง เนื่องจากพยาธิมีหลายชนิด จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง สามารถทำนัดหมายล่วงหน้าที่ https://tropmedhospital.net/tropmed-excellence-clinic – คลินิกเวชศาสตร์ท่องเที่ยวและการเดินทาง (คลินิกนักท่องเที่ยว) -…

ทำเนียบผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

นางสุริยา มงคลเกษม พ.ศ. 2508 – 2537 นางศรีสุรางค์ ตันตระกูล พ.ศ.2537-2538 นางวิไล คงรอด พ.ศ.2538- 2540 นางบังเอิญ ระดมยศ พ.ศ.2540 -2541 นางลดาวัลย์ สุภีรนันท์ พ.ศ.2541-2551 นางสาวสุภาพ วัณณะพันธุ์ พ.ศ.2551-2554 นางศุกร์วันณี จุลวิชิต พ.ศ.2554-2557 นางฐิติพร เเก้วรุณคำ พ.ศ.2557-2561 นางกองเเก้ว ย้วนบุญหลิม พ.ศ.2561-ปัจจุบัน

เตรียมสุขภาพก่อนการเดินทาง

เตรียมสุขภาพก่อนการเดินทาง ช่วงปลายปีอากาศดีๆแบบนี้ หลายท่านคงจะวางแผนที่จะออกเดินทางท่องเที่ยวเก็บประสบการณ์ดีๆในช่วงนี้ สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อม นอกจากการเตรียมจองที่พักก็คือเรื่องสุขภาพ แน่นอนว่าเราคงแพลนไม่ได้ว่าเราจะไม่สบายช่วงไหนแต่สิ่งที่ทำได้ก็คือการเตรียมร่างกายให้พร้อมก่อนออกไปท่องโลกกว้าง วันนี้แอดมินจะแนะนำหลักทั่วไปในการเดินทางเบื้องต้นว่าควรต้องทำอะไรบ้าง ไปลุยกันเลยครับ 1. รักษาสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงก่อนการเดินทาง เบสิคเลยคือไม่ควรเดินทางทั้งๆที่ยังไม่สบายอยู่ ใครที่มีโรคประจำตัวต่างๆ ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ โดยเฉพาะการเดินทางไปต่างประเทศหรือไปเป็นระยะเวลานาน และต้องเตรียมยาสามัญประจำตัวไปด้วยเสมอ 2. หาข้อมูลสถานที่หรือประเทศที่เราจะเดินทางไป ว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพในด้านไหนบ้าง เพราะแต่ละแต่ละพื้นที่จะมีความเสี่ยงแตกต่างกันไป เช่น หากจะไปเที่ยวตามป่าเขาก็ต้องระวังโรคมาลาเรีย เพราะเข้าไปในพื้นที่ที่มียุงก้นปล่องอยู่ซึ่งเป็นตัวการนำโรค ซึ่งยุงชนิดนี้จะไม่มีในเขตเมืองหรือชุมชน ฉะนั้นเวลาไปเที่ยวป่าก็ต้องระวังอย่าให้ยุงกันเตรียมยาทาและเครื่องป้องกันให้ดี หรือหากเป็นเรื่องอาหารการกินอาจต้องระวังพวกโรคท้องเสีย ท้องร่วงไว้ด้วย กินสุก กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือช่วยท่านได้ 3. หากท่านมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์และเตรียมยาประจำตัวให้เรียบร้อย รวมไปถึงเอกสารทางการแพทย์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยเสมอ 4. นอกจากการป้องกันโรคติดต่อแล้ว นักท่องเที่ยว/นักเดินทางไม่ควรมองข้ามภัยอันตรายอื่นๆ เช่นอุบัติเหตุ และความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น ไม่ควรแต่งกายประดับด้วยของมีค่า ซึ่งจะล่อตามิจฉาชีพ และควรศึกษาว่าพื้นที่ใดหรือแหล่งใดไม่ควรเดินทางเข้าไป เพราะอาจเกิดอันตรายแก่ตัวเองได้ และไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ซึ่งโอกาสเกิดอันตรายมีสูง จะไม่คุ้มกับเงินที่อาจจะประหยัดได้ ทั้งหมดนี้ เป็นประเด็นเบื้องต้นที่ควรพิจารณาก่อนการเดินทาง อย่างไรก็ดีนักท่องเที่ยวและนักเดินทางแต่ละคนจะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป เช่น ระยะเวลาเดินทาง กิจกรรมที่จะไปทำ ไปกันกี่คน ฯลฯ ประเด็นต่างๆเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญ…

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว ไวรัสโรต้า (Rotavirus) มันมากับหน้าหนาว ไวรัสโรตาเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดท้องร่วงในเด็กเล็ก โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ติดต่อโดยการจับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อโรค แล้วมาจับปากหรือนำเข้าไปในปากโดยตรง สำหรับอาการเด่นๆเลยก็จะมีไข้ ตามด้วยอาเจียน ท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำ บางรายอาจไม่สามารถรับประทานอาหารหรือน้ำได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย จนอาจเกิดอาการช็อค ถาม : โรคท้องร่วงจากไวรัสโรตา สามารถเกิดในผู้ใหญ่ได้มั้ย? ตอบ :ได้ครับ แต่จะพบมากในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี อาจมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าผู้ใหญ่ ถาม : แล้วทำไมต้องระมัดระวังในช่วงหน้าหนาว? ตอบ : เชื้อจะเจริญเติบโต และแพร่กระจายตัวได้ดีในสภาพอากาศที่แห้งและเย็น จึงพบมากในฤดูหนาว โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีคนอาศัยอยู่รวมกันมาก ๆ เช่น โรงเรียน สถานที่ท่องเที่ยว จะทำให้เกิดการระบาดได้ง่ายขึ้น ถาม : ถ้ามีอาการควรทำอย่างไรดี ตอบ : ความจริงแล้วหากมีอาการท้องร่วง ท้องเสีย ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรก็ตาม ให้ดื่มน้ำผสมเกลือแร่ทดแทน พักผ่อนให้เพียงพอ…

พยาธิใบไม้ตับ Liver Fluke

พยาธิใบไม้ตับ LIver Fluke “มื้อที่สุกที่สุด คือมื้อที่ปลอดภัยที่สุด” แต่เจ้าตัวในรูปที่หน้าตาประหลาดๆนี่คือ “พยาธิใบไม้ตับ” เมื่อมองผ่านกล้องจุลทรรศน์ ใครเป็นสายทานปลาน้ำจืดดิบๆ ลาบปลาดิบ ก้อยปลาดิบ ควรต้องอ่านครับ วันนี้ทางรพ.ขอนำ Q&A สั้นๆ เกี่ยวกับโรคพยาธิใบไม้ในตับ เผื่อจะได้เปลี่ยนใจหันมาทานสุกกันบ้างครับ   ถาม : กินปลาน้ำจืดดิบประจำก็แข็งแรงดี ไม่เห็นมีอาการผิดปกติอะไรเลย ? ตอบ : ส่วนใหญ่คนที่เป็นพยาธิใบไม้ตับ แรกๆ มักจะไม่ค่อยมีอาการ ทำให้ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรค แต่ถ้าทิ้งไว้นานๆ และยังกินอาหาร ที่มีพยาธิตัวอ่อนเข้าไปอยู่เรื่อยๆ นานเข้าก็จะทำให้มีอาการได้   ถาม : อาหารอะไรที่กินแล้วเป็นพยาธิใบไม้ตับ? ตอบ : พวกปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด แล้วเอามากินแบบดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบดิบ ก้อยปลา เป็นต้น   ถาม : ปลาร้า ปลาส้มที่กินดิบๆ จะมีพยาธิไหม? ตอบ :…

โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต

โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุต เป็นเรื่องยากที่จะเลี่ยงการลุยน้ำขังในช่วงหน้าฝนแบบนี้  โรคน้ำกัดเท้า หรือฮ่องกงฟุตจึงเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงน้ำท่วม โรคนี้เกิดได้จากการเดินยํ่านํ้าบ่อยๆ หรือยืนแช่นํ้าที่สกปรกเป็นเวลานานๆ ส่งผลให้ให้ผิวหนังเปื่อย โดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้ อาการของโรคแบ่งเป็น 3 ระยะคือ  ระยะที่ 1 ช่วง 1-3 วันแรก ผิวหนังเปื่อยเมื่อแช่น้ำ แดงคัน แสบ ระคายเคืองและมีการลอกเล็กน้อย ในระยะนี้ให้สังเกตตนเอง และดูแลรักษาความสะอาดแนะนำปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายามาทา ระยะที่ 2 ช่วง 3-10 วัน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ผิวหนังจะเปื่อยมีรอยฉีกขาด มีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ อาจจะมีหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรรีบไปพบแพทย์อย่างด่วน ช่วงที่ 3 ช่วง 10-20 วัน ถ้าแช่น้ำต่อเนื่อง และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผิวหนังจะเริ่มแดง คันมีขุยขาว เปียก เหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาวเป็นขุย หรือลอกบางเป็นสีแดง เป็นระยะที่อันตรายมาก แนวทางการป้องกัน หลังจากการลุยน้ำแล้ว แนะนำให้ล้างเท้า…