พยาธิตืดหมู

พยาธิตืดหมู สำหรับท่านที่เป็นสายหมูดิบ อยากให้ลองค่อยๆอ่านบทความสั้นๆ และจินตนาการตามนะครับ (ไม่แนะนำให้อ่านตอนกำลังทานอะไรอยู่) เมื่อพยาธิตัวตืดเข้าไปในร่างกายและโตเต็มวัย ส่วนหัวของเจ้าพยาธิตัวตืดก็จะไปเกาะอยู่ที่ผนังลำไส้ ซึ่งจะปล่อยตัวทอดยาวไปตามแนวลำไส้ ประดุจบะหมี่เส้นแบนที่ยาวหลายเมตร(อาจจะ 2-4เมตรเลยทีเดียว) เวลาเจ้าตืดหมูขยับทีก็จะพลิ้วไหวแขวนตัวเป็นอิสระในลำไส้ บางครั้งถ้าเจ้าตืดหมูรู้สึกนึกสนุกก็จะสลัดตัว(ที่เป็นปล้อง) ปนออกมากับอุจจาระให้ท่านได้ชมเป็นครั้งคราว ซ้ำร้ายบางครั้งปล้องพยาธิอาจไชออกมาจากก้น ทำให้รู้สึกคันยุกยิก ซึ่งภายในปล้องพยาธิก็จะเต็มไปด้วยไข่ของตัวตืด และเมื่อปล้องพยาธิแตกก็จะมีไข่แตกกระจายปนกับอุจจาระ ที่หนักไปกว่านั้น! หากตืดหมูสลัดปล้องสุกที่อยู่ในลำไส้กลับขึ้นไปในกระเพาะอาหาร จะทำให้พยาธิตัวอ่อนในไข่ฟักตัวออกมา แล้วไชเข้ากระแสเลือดไปเติบโตเป็นถุงตัวตืดลักษณะแบบเดียวกับเม็ดสาคูในเนื้อหมู(ดูรูปได้ในลิงค์ด้านล่าง) สามารถพบตามกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย แม้แต่กล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง หรือบางครั้งอาจ คลำเป็นเม็ดๆ ใต้ผิวหนัง “อาการของโรคถุงพยาธิตืดหมูขึ้นสมองมีได้หลายอย่าง แล้วแต่ว่าถุงพยาธิไปอยู่บริเวณใดของสมองและมีจำนวนมากน้อยเท่าใด ถ้ามีถุงพยาธิตัวตืดจำนวนมากในสมอง อาจทำให้เสียชีวิตได้” ถ้าอ่านถึงตรงนี้แล้ว หากท่านจะคิดยังทานหมูดิบอยู่ ลองเข้าไปอ่านข้อมูลทั้งหมดของพยาธิตัวตืด ได้ที่ : https://tropmedhospital.net/knowledge/tapeworm.html หนังสือโรคเขตร้อนฉบับประชาชน อ่านเลย! : https://www.tm.mahidol.ac.th/…/book-tropical-diseases… นัดหมายตรวจพยาธิ : https://tropmedhospital.net/tropmed-excellence-clinic… #โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน #คณะเวชศาสตร์เขตร้อน #มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็น ”โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่คนได้” เดิมทีโรคนี้พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก อันที่จริงไม่ใช่โรคอุบัติใหม่ แต่ครั้งนี้ที่ต้องมีการเตือนประชาชนให้ดูแลป้องกันตนเองเนื่องจากพบผู้ป่วยแล้วในหลายประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น การติดต่อ>>> คนสามารถติดโรคจากการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน การประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ หรืออาจติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย ส่วนการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ อาการ>>> เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง…

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน

มาลาเรียโนวไซ จากลิงสู่คน ช้าก่อน! อย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่าถ้าน้องลิงกัดคนแล้วจะเป็นมาลาเรีย แท้จริงแล้วมาลาเรียโนวไซ >>> เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Plasmodium knowlesi ซึ่งเชื้อนี้มีอยู่ในลิง แต่สามารถติดต่อและทำให้เกิดโรคในคนได้ เป็นไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน “ผ่านยุงก้นปล่องที่ไปกัดลิงที่มีเชื้อ แล้วมากัดคน” ซึ่งมาลาเรียชนิดโนวไซสามารถแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วกว่าเชื้อมาลาเรียชนิดอื่นๆ ในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2564 – 31 มี.ค. 2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิด “โนวไซ” แล้ว 70 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ระนอง สงขลา และตราด – ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ถ้าท่านอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะสงสัยว่า อ่าว! แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น มาลาเรียชนิดโนวไซ? >>> คำตอบคือ ท่านจะยังไม่ทราบครับ อาการจะเหมือนอาการไข้มาลาเรียนั่นแหละครับ และอาการของโรคจะคล้ายกับโรคที่พบบ่อยในประเทศไทยอีกหลายโรค เช่น ไข้เลือดออก ไข้รากสาดใหญ่ (ซึ่งมีการรักษาแตกต่างกัน) ดังนั้น “หากท่านมีประวัติกลับออกจากป่า หรือพื้นที่อยู่อาศัยของลิงที่เป็นโรค แล้วมีอาการไข้สูง…

โรคมือลอก (Hand Eczema)

โรคมือลอก (Hand Eczema) การล้างมือเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำอยู่แล้ว แต่ถ้าเราล้างบ่อยเกินไป ยิ่งโดนสบู่บ่อยก็ยิ่งทำให้ผิวหนังเรา อ่อนแอมากขึ้นหรือแม้แต่เจลแอลกอฮอล์ ถ้าเราล้างบ่อยเกินไปก็จะเกิดโรคผิวหนังอักเสบที่มือตามมาได้ หากปล่อยไว้นาน ยิ่งเป็นแผลเป็น มาก ๆ บางทีอาจลามไปทั้งมือ และถ้ามีแบคทีเรียเข้าไปติดเชื้อซ้ำซ้อน ก็จะเป็นตุ่มหนองมีอาการบวมแดงอักเสบตามมาได้ โรคผิวหนังอักเสบ สามารถเป็นได้ทั่วตัว แต่ว่าโรคผิวหนังอักเสบที่มือ หรือโรค Hand Eczema จะเจอในคนที่ล้างมือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงก็คือ กลุ่มคนที่ล้างมือบ่อย ๆ เช่น แพทย์ พยาบาล ช่างเสริมสวย แม่บ้าน คนที่เลี้ยงเด็ก หรือว่าช่างซ่อมเครื่องต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งตอนนี้ก็อาจจะเจอในคนทั่วไป ในสถานการณ์การระบาดของ COVID – 19 เช่นนี้ ทั้งนี้คนที่มีความเสี่ยงต่อโรคนี้มากกว่าคนปกติ ก็คือคนที่เป็นภูมิแพ้ตั้งแต่เด็ก หรือว่าคนที่เป็นโรค Atopic Dermatitis ก็อาจจะมีอาการแพ้ง่ายเช่นกัน สาเหตุของโรค Hand Eczema เกิดได้จากอาการแพ้หรืออาการระคายเคือง โดยอาการแพ้กับระคายเคืองสามารถเกิดต่อสารใด ๆ ก็ได้…

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด

Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด Heat Stroke (ฮีทสโตรก) โรคลมแดด เป็นโรคที่น่ากลัว ถ้าหากวินิจฉัยช้าหรือรักษาได้ไม่ทัน ถึงขั้นเสียชีวิตได้!!! สาเหตุ: ในชีวิตประจำวันของเรายากที่จะหลีกเลี่ยงความร้อนที่เกิดขึ้นได้ พอโดนแดดนานๆ อาจเกิดโรคลมแดดขึ้นซึ่งมีที่มาจากความร้อน 2 แหล่งคือ 1. ความร้อนจากภายนอก เช่น แสงแดด หรือที่ที่มีอุณหภูมิสูง 2. ความร้อนจากภายใน คือ ความร้อนภายในร่างกาย ที่เกิดจากการเผาผลาญจะทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกาย ซึ่งอาจเป็นไปได้ทั้ง 2 อย่าง โดยปรกติอุณหภูมิร่างกายเราจะอยู่ที่ 36-37.5 องศาเซลเซียส แต่พอเจอกับสภาพอากาศร้อนๆ ร่างกายก็จะพยายามหาทางจัดการกับความร้อน ร่ายกายจะปรับตัวมีการสูบฉีดโลหิต และหัวใจเต้นแรงขึ้น เลือดจะไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากขึ้น เส้นเลือดที่ผิวหนังขยายตัว ต่อมเหงื่อทำงานมากขึ้น ทำให้มีเหงื่อออกมากร่างกายก็จะเสียน้ำ พอร่างกายขาดน้ำมากๆ ร่างกายจะนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญแทน พอถึงจุดนึงเลือดก็จะไปเลี้ยงไม่พอ จากนั้นไต ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่กรองของเสีย และกำจัดเกลือแร่ ก็จะทำงานหนักของเสียในร่างกายก็คั่นค้าง ทำให้เกลือแร่ในร่างกายผิดปรกติไปจนทำให้เกิดไตวาย ความแตกต่างระหว่างโรคลมแดด และเป็นลม คนที่เป็นโรคลมแดดตัวจะแห้ง เนื่องจากเหงื่อออกไปเยอะจนไม่มีจะออกแล้ว และตัวจะร้อนมากอุณหภูมิร่างกายพุ่งสูงมาก อาจสูงขึ้นมากกว่า…

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ

หน้ากากอนามัย ชนิดต่างๆ หน้ากากอนามัยถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่มีทั้งCOVID-19 โรคต่างๆ และมลพิษทางอากาศก็ยังไม่เว้น วันนี้แอดมินจะมาแนะนำหน้ากากชนิดต่างๆ ที่ทุกท่านน่าจะเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปลุยกันเลยครับ 1. หน้ากากอนามัยชนิด N95 หน้ากากอนามัย N95 เป็นหน้ากากอนามัยชนิดที่ช่วยป้องกันอนุภาคที่มีขนาดเล็กมากๆได้(หากใส่ถูกวิธี) โดยประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าหน้ากากอนามัยแบบทั่วไป เพราะลักษณะของหน้ากากอนามัย N95 นี้มีลักษณะครอบลงไปที่บริเวณหน้าปาก และจมูกอย่างมิดชิด จึงทําให้เชื้อไวรัสหรือสารปนเปื้อนไม่สามารถลอดผ่านได้ และ แน่นอนสามารถป้องกันอนุภาคขนาดเล็กอย่าง PM2. ที่เมืองไทยเผชิญอยู่ในขณะได้ในระดับดีมากอีกด้วย Note : หากใส่เป็นเวลานานจะทำให้หายใจลำบาก อาจจะไม่เหมาะในการใส่ในชีวิตประจำวัน อีกทั้งของที่มีคุณภาพ อาจมีราคาสูงอีกด้วย 2. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ แม้จะมีขายตามท้องตลาดทั่วไป หน้าตาคล้ายๆกัน แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่เท่ากัน ถ้าสามารถเลือกซื้อที่มีคุณภาพได้ ก็จะมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้ดียิ่งขึ้น หน้ากากทางการแพทย์ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้เป็นอย่างดี และสวมใส่ในชีวิตประจำวันได้ สําหรับวิธีการใส่ควรใส่โดยการนําด้านสีเขียวออกด้านหน้า เพื่อกันสาร คัดหลั่งจากคนอื่นเข้ามาสู่ตัวเรา นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันฝุ่นได้ในระดับปานกลางถึงดี แต่หากใส่ 2 ชั้นซ้อนกันก็จะมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอีกด้วย Note : ควรใส่ให้ถูกต้องโดยให้ฝั่งด้านบนที่มีลวดแข็งอยู่ที่สันจมูก และด้านล่างให้ดึงลงมาครอบปลายคางตลอดเวลา แนะนำเลือกใช้ที่มีคุณภาพ และใช้แล้วทิ้งไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ 3.…

ไข้เลือดออก 2022

ไข้เลือดออก 2022 ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกกว่า 50,000 ราย และเสียชีวิตกว่า 60 ราย (ตามสถิติของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 – 2564) ถึงแม้จะไม่ใช่ตัวเลขที่ดูสูงมาก แต่โรคไข้เลือดออกก็ยังคงเป็นโรคที่ต้องระมัดระวังคนในครอบครัวอยู่ในทุกๆปี แต่ช้าก่อน! วันนี้แอดมินจะไม่ได้พูดถึงที่ไปที่มาของไข้เลือดออก แต่จะเป็นการแนะนำหากท่านมีอาการที่เข้าข่ายโรคไข้เลือดออก ในช่วงโควิด ปี 2022 นี้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร? 1. เช็คอาการก่อนว่ามีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูก และมีผื่นที่ผิวหนัง หรือไม่ 2. ทำการตรวจ ATK ซึ่งเป็นพื้นฐานในช่วงนี้อยู่แล้ว หากผลเป็นลบให้สังเกตอาการที่อาจจะรุนแรงของไข้เลือดออก เช่น เลือดออกผิดปกติ ปวดท้องมาก หน้ามืด เป็นลม สับสน ตัวเย็น เป็นต้น (หากผลเป็นบวกให้ปฏิบัติตามขั้นตอนของ COVID – 19 ต่อไป) 3. ติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน ในขั้นตอนนี้ให้เช็ควัน…

โซเดียม ทำให้ตัวบวม?

โซเดียม ทำให้ตัวบวม? วันนี้เราจะมาถาม-ตอบ กันในเรื่อง “โซเดียมทำให้ตัวบวม?” คำถามง่ายๆที่หลายๆท่าน และแอดมินเองก็แอบสงสัย ถ้าพร้อมแล้วลุยกันเลยครับ! Q: โซเดียมมาจากอะไร ทำไมขนม หรืออาหารถึงมีโซเดียม? A: โซเดียมเป็นองค์ประกอบอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด ปริมาณขึ้นอยู่กับชนิดอาหารและการปรุงรส โซเดียมพบได้สูงในอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ใช้เกลือในการถนอมอาหาร เครื่องปรุงรสต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงอยู่ในอาหาร เช่น ผงฟู เบกกิ้งโซดา สารกันเสีย สารกันรา ฯลฯ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ ทั้งนี้ในอาหารตามธรรมชาติก็มีโซเดียมเช่นกัน เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่จะมีปริมาณน้อยกว่าอาหารที่ผ่านการแปรรูปแล้ว และอาหารประเภทธัญพืช ผัก ผลไม้ มักมีโซเดียมน้อยกว่าอาหารประเภทเนื้อสัตว์และนม Q: โซเดียมมีรสชาติมั้ย? A: เป็นคำถามที่อาจจะฟังดูประหลาด แต่มีหลายคนคงอยากจะรู้(รึป่าวไม่แน่ใจ) อันที่จริงแล้วโซเดียมเป็นแร่ธาตุ โดยมากจะอยู่ในอาหารที่มีรสชาติเค็ม เช่น เกลือ เกลือแกง กะปิ น้ำปลา อาหารหมักดอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารบางชนิดที่ไม่มีรสเค็มแต่มีโซเดียมแฝงอยู่ เช่น ผงชูรส ผงฟู ฯลฯ…

เรื่องวุ่นๆ ของการตรวจ ATK

เรื่องวุ่นๆ ของการตรวจ ATK Q : ทำไมหน้าตาชุดตรวจแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน? A: ประเด็นก็คือว่า ชุดตรวจ ATK แต่ละยี่ห้อจะมีความแตกต่างกันในทางปฏิบัติอยู่บ้าง ขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ แต่ปลายทางก็เพื่อตรวจหาโควิดเหมือนกัน ที่เราเห็นส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์คือ 1.ก้าน SWAP 2.น้ำยา 3.หลอด 4.แผ่นแสดงผล ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเมื่อเรามีชุด ATK ที่ไม่เหมือนเดิมคือการอ่านรายละเอียดการใช้งาน และทำตามคำแนะนำตามเอกสารกำกับชุดตรวจอย่างเคร่งครัด หรือบางยี่ห้ออาจจะมี QR Code ให้สแกนเพื่อดูวิดีโอสาธิตวิธีการทำอย่างละเอียดให้มาด้วย Q : ขีดไม่ขึ้น? A : ถ้าหากมีขั้นตอนใดที่พลาดไป ชุดตรวจอาจไม่แสดงผล หรือแสดงผลไม่แม่นยำ” หากไม่มีขีดขึ้นเลย หรือมีขีดขึ้นแค่ตัว T แปลว่าผลตรวจใช้ไม่ได้ ควรตรวจหาเชื้อ โดยใช้ชุดตรวจใหม่อีกครั้ง Q : ต้องรอผลกี่นาที? A : โดยปรกติให้รอผลราว 10-15 นาที (ให้อ่านตามคู่มือที่แนบมาครับ) Q: ชุดตรวจที่ใช้แล้ว ควรทิ้งอย่างไร? A :…

10 ข้อปฏิบัติ Home Isolation เมื่อติด COVID-19

10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19  10 ข้อปฏิบัติเมื่อต้องทำ Home Isolation จากการติด COVID-19 งดออกจากที่พัก และห้ามผู้อื่นมาเยี่ยม แยกของใช้ส่วนตัว ถ้าเป็นไปได้ควรแยกห้องพักด้วย แยกทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว และทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสอยู่เสมอ สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา งดการรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น และกำหนดจุดในการรับอาหารและสิ่งของอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร แยกห้องน้ำใช้ หากมีห้องเดียวให้เข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังใช้งาน ล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ แยกขยะติดเชื้อออกจากขยะทั่วไป โดยให้ใส่ถุงสองชั้นและมัดปากถุงขยะให้แน่น หมั่นสังเกตอาการตนเองวัดอุณหภูมิร่างกายเป็นประจำ หากมีอาการ หอบ เหนื่อย มีไข้สูงติดต่อกัน ให้รีบติดต่อไปยังรพ. ที่ทำการรักษาทันที *ในระหว่างกักตัวแนะนำให้บุคคลอื่นในครอบครัวที่ไม่ติดเชื้อให้ไปพักอาศัยที่อื่นเป็นการชั่วคราว เพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับคนในครอบครัว   Home Isolation