ขั้นตอนการรับบริการงานเวชระเบียน

ขั้นตอนการรับบริการงานเวชระเบียน  ผู้รับบริการ ↓ จุดคัดกรองผู้ป่วย – แยกประเภทผู้รับบริการ ↓ งานเวชระเบียน ↓ ผู้รับบริการรายเก่า ติดต่อช่องบริการ ผู้ป่วยเก่า • บัตรประชาชนตัวจริง/บัตร รพ. • ใบแยกประเภทผู้รับบริการ (กรณีไม่ทำนัด Online) • ตรวจสอบนัดในระบบ Online ผู้รับบริการรายใหม่ Walk in ติดต่อช่องบริการ ผู้ป่วยใหม่ • กรอกแบบฟอร์มขอมีเวชระเบียน • บัตรประชาชนตัวจริง • ใบแยกประเภทผู้รับบริการ ผู้รับบริการรายใหม่ Online ติดต่อช่องบริการ ลงทะเบียนออนไลน์ • เลข HN ที่ได้รับจาก รพ. ผ่านทาง E-mail • บัตรประชาชนตัวจริง • ใบแยกประเภทผู้รับบริการ (กรณี ไม่ทำนัด Online) • ตรวจสอบนัดในระบบ Online ↓…

ฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19

ฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19 ข้อมูลทั่วไป  ชื่อวิทยาศาสตร์: Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees ชื่ออื่น: หญ้ากันงู, น้ำลายพังพอน, ฟ้าสาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน สารสำคัญ: Andrographolide, NeoAndrographolide, 14-deoxy-andrographolide ส่วนที่ใช้:  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง โดยใบจะเก็บมาใช้ได้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ห้ามใช้ ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร ห้ามใช้ ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้ ห้ามใช้ ในผู้ป่วยโรคตับ ไต หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการอ่อนแรง ระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด และยาลดความดันโลหิต เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กันได้ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ เนื่องจากอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับประทาน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ…

สาระยาน่ารู้

วัคซีนโรคไอพีดียาลดไข้กับโรคไข้เลือดออกวันหมดอายุและวิธีการเก็บรักษายาการสังเกตยาเสื่อมสภาพฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19ยาสเตียรอยด์ยาชุด ยาต้ม ยาหม้อ ยาสมุนไพร ยาลูกกลอนเกลือแร่….ต่างกันอย่างไรกินยาพร้อมนมได้หรือไม่ หน่วยวิชาการ งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ยาลดไข้กับโรคไข้เลือดออก

  ยาลดไข้กับโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกโดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะฟื้น แต่ถ้าเป็นแบบไม่รุนแรง ก็จะไม่มีระยะช็อก   การรักษาและการใช้ยา เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะจึงเป็นการรักษาตามอาการคือ ให้ยาลดไข้ โดยยาลดไข้ที่ใช้ต้องไม่กัดกระเพาะหรือ ทำให้เลือดออกง่าย ยาที่ค่อนข้างปลอดภัย คือพาราเซทตามอล แต่ต้องระวังว่าอย่าใช้ยานี้เกินขนาด ควรใช้ยาตามฉลากยาหรือ ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากกินยาลดไข้ แล้วยังมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นร่วมด้วย และกินยาซ้ำ ทุก 4-6 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการอาเจียนบ่อย สามารถรับประทานยาแก้อาเจียนและเกลือแร่ได้ สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง (เช่น ไข้สูงมาก ชัก อาเจียนบ่อยมาก กินอาหารไม่ได้ มีเลือดออกง่าย ซึม หรือตรวจเลือดแล้วพบเกล็ดเลือดต่ำ) หรือกำลังจะเข้าสู่ระยะช็อก อาจจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยการรักษาที่สำคัญจะเป็นการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดจนกว่าคนไข้จะเข้าสู่ระยะฟื้น   ยาที่อันตรายสำหรับผู้ที่เป็นไข้เลือดออก ยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้เนื่องจากยาอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น   วัคซีนไข้เลือดออก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองให้ใช้…

การสังเกตยาเสื่อมสภาพ

  การสังเกตยาเสื่อมสภาพ   ยาเม็ด มีลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ สีเปลี่ยนหรือซีดจาง เม็ดยาบวม มีรอยด่าง   ยาเม็ดเคลือบ ยาเม็ดเคลือบน้ำตาลอาจมีการเยิ้มเหนียวหรือมีกลิ่นผิดไปจากเดิม   ยาเม็ดแคปซูล แคปซูลแข็ง: แคปซูลมักจะบวมโป่งอาจมีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล ภายในแคปซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน         แคปซูลนิ่ม : เปลือกแคปซูลเยิ้มเหลวเหนียวกว่าปกติ แคปซูลเปื่อยทะลุทำให้ตัวยาไหลออกมากด้านนอก   ยาผงแห้ง ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่ไม่ปกติไม่สามารถละลายได้และถ้าที่ผนังภาชนะบรรจุมีไอน้ำหรือหยดน้ำแสดงว่า ยาเตรียมนั้นไม่เหมาะที่จะนำไปใช้   ยาน้ำเชื่อม มีลักษณะขุ่น เกิดตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูด หรือเหม็นเปรี้ยว   ยาน้ำแขวนตะกอน  ตะกอนจับกันเป็นก้อน เกาะ ติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สีหรือรสเปลี่ยนไป   ยาน้ำอีมัลชั่น ปกติเมื่อตั้งทิ้งไว้จะแยกเป็นชั้น และเมื่อเขย่าจะเข้ากันดีแต่ถ้ายาเสื่อมแล้วเมื่อเขย่าจะไม่เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน   ยาครีม มีลักษณะแยกชั้น ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อครีมเปลี่ยนสี หรือมีกลิ่นหืน   ยาขี้ผึ้ง…

วันหมดอายุของยา และวิธีการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง

วันหมดอายุของยา   ยาเม็ดที่อยู่ในแผงหรือบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิต สังเกตวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ หากระบุ เดือน/ปี ให้ถือว่าวันหมดอายุคือ วันสุดท้ายในเดือนนั้นๆ ยาที่แบ่งบรรจุ หรือนำยามาแบ่งจากภาชนะเดิม เช่น ยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ำในขวดพลาสติก จะส่งผลให้วันหมดอายุของยาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้จะต้องกำหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดยนับจากวันที่ แบ่งบรรจุ 1 ปี ดังนั้นหากเหลือยาแบ่งบรรจุเก็บไว้ที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไหร่ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยา หรือซองที่ระบุวันที่ได้รับยามา หากเกิน 1 ปี ก็ให้ทิ้งไปไม่ควรใช้ต่อ ยาน้ำที่มีสารกันเสีย ยาน้ำที่มีสารกันเสีย ทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอกหลังเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน ยาผงแห้งผสมน้ำ หลังจากผสมน้ำแล้ว ให้ยึดข้อมูลวันหมดอายุตามข้อมูลที่บริษัทระบุไว้บนฉลาก ยาหยอดตาที่ใส่สารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (Preservative) และยาป้ายตา หากเปิดใช้แล้ว มีอายุ 1 เดือน ยาหยอดตาที่ชนิดที่ไม่ใส่สารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (Preservative) หากเปิดใช้แล้ว ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน ยาครีมหรือเจลทาภายนอก เช่น ยาทาแก้ปวด วันหมดอายุยึดตามวันหมดอายุที่ผลิตภัณฑ์ แต่ควรดูว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่…

เกี่ยวกับเรา แผนกผิวหนัง

หน้าหลักคลินิกผิวหนัง นายแพทย์วิชัย สุภนรานนท์ แพทย์หญิงจิตติมา ฐิตวัฒน์ แพทย์หญิงนฤมล สิทธิ์บูรณะ นายแพทย์ภัสเนศวร์ สุขโพธิ์เพชร แพทย์หญิงกังสตาล รุ่งโรจน์วงศ์ศิริ แพทย์หญิงสรวลัย รักชาติ แพทย์หญิงสุพิชชา กมลรัตนกุล แพทย์หญิงอมรรัตน์ รุ่งจรูญธนกุล

รายการอาหาร และเวชภัณฑทางการแพทย์

หน้าหลักงานเภสัชกรรม ขั้นตอนการซื้ออาหาร และเวชภัณฑทางการแพทย์ผ่านทาง Line@ ผู้มารับบริการสามารถขอซื้ออาหารทางการแพทย์ ตามรายการด้านล่างได้จากงานเภสัชกรรมโดยปฏิบัติตามนี้ หากเป็นผู้รับบริการใหม่ หรือเคยมี HN แล้ว แต่จำไม่ได้ ให้กรอกประวัติเพื่อรับเลข HN ที่นี่ หากเป็นผู้รับบริการเดิมที่มีเลข HN แล้ว ให้แอด Line ตามข้อ 3. ได้เลย เพิ่มเพื่อนไปยัง Line@ TM Pharmacy โดยสแกนการ QR Code หรือ คลิกที่นี่ เมื่อเพิ่มเพื่อนเรียบร้อยแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และกรอกข้อมูลใน Line@ หมายเหตุ สำหรับชำระเงินเองเท่านั้น ไม่สามารถเบิกได้ทุกกรณี มีค่าบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์แบบEMS ครั้งละ 50 บาท ต่อ 1 กล่องพัสดุ (กล่องใหญ่สุด ขนาด จ.) ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถสอบถามราคาและค่าจัดส่งผ่านช่องทาง Line@ ทางหน่วยงานเภสัชกรรมยินดีตอบคำถามทุกท่าน ในวันและเวลาราชการ (09.00 -…

Vaccine

หน้าหลักงานเภสัชกรรม คำแนะนำในการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (ทั่วไป) ราคาวัคซีน click! ช่วงอายุวัคซีนป้องกันโรค ที่แนะนำให้ฉีดหมายเหตุ ผู้ใหญ่ อายุ 19-26 ปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี วัคซีนอีสุกอีใส ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (กรณีไม่ทราบ หรือไม่เคยเป็นมาก่อน ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน) วัคซีนหัด-คางทูม- หัดเยอรมัน ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ วัคซีนเอชพีวี ควรฉีดตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น (การฉีดวัคซีนไม่สามารถ ทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) วัคซีนตับอักเสบเอ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน วัคซีนตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม (ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน) ผู้ใหญ่ อายุ…