ฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19

ฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19 ข้อมูลทั่วไป  ชื่อวิทยาศาสตร์: Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees ชื่ออื่น: หญ้ากันงู, น้ำลายพังพอน, ฟ้าสาง, เมฆทะลาย, ฟ้าสะท้าน สารสำคัญ: Andrographolide, NeoAndrographolide, 14-deoxy-andrographolide ส่วนที่ใช้:  ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง โดยใบจะเก็บมาใช้ได้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง ห้ามใช้ ในผู้ที่มีอาการแพ้ฟ้าทะลายโจร ห้ามใช้ ในหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร เนื่องจากอาจทำให้เกิดความผิดปกติกับทารกในครรภ์ได้ ห้ามใช้ ในผู้ป่วยโรคตับ ไต หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการอ่อนแรง ระวังการใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด และยาลดความดันโลหิต เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์กันได้ ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยกลุ่มโรคภูมิต้านตนเอง เช่น โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง โรคลูปัสหรือเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ เนื่องจากอาจกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ไวต่อการทำงานมากขึ้น อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับประทาน อาจทำให้เกิดอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่ออาหาร วิงเวียนศีรษะ…

สาระยาน่ารู้

วัคซีนโรคไอพีดียาลดไข้กับโรคไข้เลือดออกวันหมดอายุและวิธีการเก็บรักษายาการสังเกตยาเสื่อมสภาพฟ้าทะลายโจร กับ COVID-19ยาสเตียรอยด์ยาชุด ยาต้ม ยาหม้อ ยาสมุนไพร ยาลูกกลอนเกลือแร่….ต่างกันอย่างไรกินยาพร้อมนมได้หรือไม่ หน่วยวิชาการ งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน

ยาลดไข้กับโรคไข้เลือดออก

  ยาลดไข้กับโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกโดยทั่วไป สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข้ ระยะช็อก และระยะฟื้น แต่ถ้าเป็นแบบไม่รุนแรง ก็จะไม่มีระยะช็อก   การรักษาและการใช้ยา เนื่องจากโรคนี้ไม่มียารักษาโดยเฉพาะจึงเป็นการรักษาตามอาการคือ ให้ยาลดไข้ โดยยาลดไข้ที่ใช้ต้องไม่กัดกระเพาะหรือ ทำให้เลือดออกง่าย ยาที่ค่อนข้างปลอดภัย คือพาราเซทตามอล แต่ต้องระวังว่าอย่าใช้ยานี้เกินขนาด ควรใช้ยาตามฉลากยาหรือ ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากกินยาลดไข้ แล้วยังมีไข้สูง ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นร่วมด้วย และกินยาซ้ำ ทุก 4-6 ชั่วโมง ในรายที่มีอาการอาเจียนบ่อย สามารถรับประทานยาแก้อาเจียนและเกลือแร่ได้ สำหรับรายที่มีอาการรุนแรง (เช่น ไข้สูงมาก ชัก อาเจียนบ่อยมาก กินอาหารไม่ได้ มีเลือดออกง่าย ซึม หรือตรวจเลือดแล้วพบเกล็ดเลือดต่ำ) หรือกำลังจะเข้าสู่ระยะช็อก อาจจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยการรักษาที่สำคัญจะเป็นการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดจนกว่าคนไข้จะเข้าสู่ระยะฟื้น   ยาที่อันตรายสำหรับผู้ที่เป็นไข้เลือดออก ยาแก้ปวดในกลุ่มยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน เป็นต้น ไม่ควรใช้ยาในกลุ่มนี้เนื่องจากยาอาจทำให้เลือดออกมากขึ้น   วัคซีนไข้เลือดออก ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกชนิดเดียวที่ได้รับการรับรองให้ใช้…

การสังเกตยาเสื่อมสภาพ

  การสังเกตยาเสื่อมสภาพ   ยาเม็ด มีลักษณะแตกกร่อน กะเทาะ สีเปลี่ยนหรือซีดจาง เม็ดยาบวม มีรอยด่าง   ยาเม็ดเคลือบ ยาเม็ดเคลือบน้ำตาลอาจมีการเยิ้มเหนียวหรือมีกลิ่นผิดไปจากเดิม   ยาเม็ดแคปซูล แคปซูลแข็ง: แคปซูลมักจะบวมโป่งอาจมีจุดเชื้อราขึ้นที่เปลือกแคปซูล ภายในแคปซูลจะสังเกตเห็นว่าผงยาเปลี่ยนสี จับกันเป็นก้อน         แคปซูลนิ่ม : เปลือกแคปซูลเยิ้มเหลวเหนียวกว่าปกติ แคปซูลเปื่อยทะลุทำให้ตัวยาไหลออกมากด้านนอก   ยาผงแห้ง ผงยาจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็งที่ไม่ปกติไม่สามารถละลายได้และถ้าที่ผนังภาชนะบรรจุมีไอน้ำหรือหยดน้ำแสดงว่า ยาเตรียมนั้นไม่เหมาะที่จะนำไปใช้   ยาน้ำเชื่อม มีลักษณะขุ่น เกิดตะกอน เปลี่ยนสี มีกลิ่นบูด หรือเหม็นเปรี้ยว   ยาน้ำแขวนตะกอน  ตะกอนจับกันเป็นก้อน เกาะ ติดกันแน่น เขย่าแล้วไม่กระจายตัวดังเดิม มีความเข้มข้น กลิ่น สีหรือรสเปลี่ยนไป   ยาน้ำอีมัลชั่น ปกติเมื่อตั้งทิ้งไว้จะแยกเป็นชั้น และเมื่อเขย่าจะเข้ากันดีแต่ถ้ายาเสื่อมแล้วเมื่อเขย่าจะไม่เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน   ยาครีม มีลักษณะแยกชั้น ไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกัน เนื้อครีมเปลี่ยนสี หรือมีกลิ่นหืน   ยาขี้ผึ้ง…

วันหมดอายุของยา และวิธีการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง

วันหมดอายุของยา   ยาเม็ดที่อยู่ในแผงหรือบรรจุภัณฑ์ของผู้ผลิต สังเกตวันหมดอายุที่ระบุไว้บนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ หากระบุ เดือน/ปี ให้ถือว่าวันหมดอายุคือ วันสุดท้ายในเดือนนั้นๆ ยาที่แบ่งบรรจุ หรือนำยามาแบ่งจากภาชนะเดิม เช่น ยานับเม็ด หรือครีมที่ป้ายมาจากกระปุกใหญ่ ยาน้ำในขวดพลาสติก จะส่งผลให้วันหมดอายุของยาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ใช่วันหมดอายุที่กำหนดโดยบริษัทผู้ผลิต ซึ่งวันหมดอายุของยาเหล่านี้จะต้องกำหนดวันหมดอายุขึ้นใหม่ โดยนับจากวันที่ แบ่งบรรจุ 1 ปี ดังนั้นหากเหลือยาแบ่งบรรจุเก็บไว้ที่บ้าน ไม่รู้ว่าจะหมดอายุเมื่อไหร่ ก็อาจพิจารณาจากวันที่บนฉลากยา หรือซองที่ระบุวันที่ได้รับยามา หากเกิน 1 ปี ก็ให้ทิ้งไปไม่ควรใช้ต่อ ยาน้ำที่มีสารกันเสีย ยาน้ำที่มีสารกันเสีย ทั้งชนิดรับประทานและใช้ภายนอกหลังเปิดใช้แล้วควรเก็บไว้ไม่เกิน 6 เดือน ยาผงแห้งผสมน้ำ หลังจากผสมน้ำแล้ว ให้ยึดข้อมูลวันหมดอายุตามข้อมูลที่บริษัทระบุไว้บนฉลาก ยาหยอดตาที่ใส่สารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (Preservative) และยาป้ายตา หากเปิดใช้แล้ว มีอายุ 1 เดือน ยาหยอดตาที่ชนิดที่ไม่ใส่สารต้านการเจริญเติบโตของเชื้อโรค (Preservative) หากเปิดใช้แล้ว ควรใช้ให้หมดภายใน 1 วัน ยาครีมหรือเจลทาภายนอก เช่น ยาทาแก้ปวด วันหมดอายุยึดตามวันหมดอายุที่ผลิตภัณฑ์ แต่ควรดูว่ามีการเสื่อมสภาพหรือไม่…

รายการอาหาร และเวชภัณฑทางการแพทย์

หน้าหลักงานเภสัชกรรม ขั้นตอนการซื้ออาหาร และเวชภัณฑทางการแพทย์ผ่านทาง Line@ ผู้มารับบริการสามารถขอซื้ออาหารทางการแพทย์ ตามรายการด้านล่างได้จากงานเภสัชกรรมโดยปฏิบัติตามนี้ หากเป็นผู้รับบริการใหม่ หรือเคยมี HN แล้ว แต่จำไม่ได้ ให้กรอกประวัติเพื่อรับเลข HN ที่นี่ หากเป็นผู้รับบริการเดิมที่มีเลข HN แล้ว ให้แอด Line ตามข้อ 3. ได้เลย เพิ่มเพื่อนไปยัง Line@ TM Pharmacy โดยสแกนการ QR Code หรือ คลิกที่นี่ เมื่อเพิ่มเพื่อนเรียบร้อยแล้ว ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำ และกรอกข้อมูลใน Line@ หมายเหตุ สำหรับชำระเงินเองเท่านั้น ไม่สามารถเบิกได้ทุกกรณี มีค่าบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์แบบEMS ครั้งละ 50 บาท ต่อ 1 กล่องพัสดุ (กล่องใหญ่สุด ขนาด จ.) ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง สามารถสอบถามราคาและค่าจัดส่งผ่านช่องทาง Line@ ทางหน่วยงานเภสัชกรรมยินดีตอบคำถามทุกท่าน ในวันและเวลาราชการ (09.00 -…

Vaccine

หน้าหลักงานเภสัชกรรม คำแนะนำในการให้วัคซีนป้องกันโรคสำหรับผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ (ทั่วไป) ราคาวัคซีน click! ช่วงอายุวัคซีนป้องกันโรค ที่แนะนำให้ฉีดหมายเหตุ ผู้ใหญ่ อายุ 19-26 ปี วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดกระตุ้นทุก 1 ปี วัคซีนบาดทะยักและคอตีบ ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี วัคซีนอีสุกอีใส ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ (กรณีไม่ทราบ หรือไม่เคยเป็นมาก่อน ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน) วัคซีนหัด-คางทูม- หัดเยอรมัน ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 4 สัปดาห์ วัคซีนเอชพีวี ควรฉีดตั้งแต่วัยรุ่นตอนต้น (การฉีดวัคซีนไม่สามารถ ทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก) วัคซีนตับอักเสบเอ ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12 เดือน วัคซีนตับอักเสบบี ฉีด 3 เข็ม (ควรตรวจภูมิคุ้มกันก่อนฉีดวัคซีน) ผู้ใหญ่ อายุ…

RDU

หน้าหลักงานเภสัชกรรมแอปฯนี้ คืออะไรใครควรใช้ดีมั้ยฟังก์ชันเด่นScan QR code บนฉลากยาใครเป็นผู้พัฒนาแอปฯนี้ คืออะไร ทุกวันนี้เวลาที่เราไปหาคุณหมอที่โรงพยาบาล พยาบาลจะต้องซักประวัติก่อนว่าเราใช้ยาอะไรอยู่บ้าง พอได้เข้าตรวจกับคุณหมอ คุณหมอก็ตรวจสอบอีกครั้งว่าตอนนี้เราใช้ยาอะไรอยู่ พอไปรับยากับเภสัชกร เภสัชกรก็ถามอีก ถามกันไม่หยุดหย่อนเลย นอกจากนี้บางทีเราก็ต้องมีวันที่ไปร้านยา เภสัชกรก็ยังถามอีกว่าใช้ยาอะไรอยู่ แถมเภสัชกรก็ไม่ได้ถามคำถามเดียวซะด้วยสิ ถามเยอะแยะไปหมด เราที่ไปซื้อยาก็อยากจะทำธุระให้เสร็จเร็ว ๆ แต่ด้วยความหวังดีของเค้า เราก็ไม่กล้าที่จะปฏิเสธ ต้องยอมใช้เวลาอยู่ให้ข้อมูลกับเค้าก่อน   ถ้าเรายังต้องเจอเหตุการณ์เหล่านี้อยู่ เราควรจะเข้ามาทำความรู้จักกับแอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” ทันทีเลยครับ   เพราะแอปพลิเคชันนี้ มีอะไรให้เราได้ใช้นอกจากการทำให้เรามารพ.แล้วกลับบ้านได้ไวขึ้นอีกมากมายครับ   ใครควรใช้   ♦ ผู้ป่วยทั้งผู้ที่รับยาจากโรงพยาบาลและร้านยา  ♦  ญาติผู้ป่วย หรือประชาชนทั่วไป  ♦  บุคลากรทางการแพทย์     ลองสังเกตดู จะเห็นว่า แอปพลิเคชันนี้มีไว้เพื่อให้ทุกคนได้ใช้นั่นเอง     ดีมั้ย สิ่งที่แอปพลิเคชันนี้สามารถทำได้ เข้าถึงและมีระบบการใช้งานที่ง่าย ดูข้อมูลยาที่สนใจได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการใช้ยาอย่างปลอดภัย ดูข้อมูลรายการยาที่เราใช้ในปัจจุบันได้ (เฉพาะโรงพยาบาลที่ทำการเชื่อมโยงข้อมูลยาของโรงพยาบาลไว้กับแอปพลิเคชัน)…